ข่าวที่กำลังเป็นประเด็นร้อนอยู่ในโลกของเราตอนนี้ ล่าสุด ศาลสหรัฐฯ ตัดสินให้งานศิลปะที่สร้างขึ้นด้วย Ai ไม่สามารถถูกจดลิขสิทธิ์ได้ภายใต้กฎหมายสหรัฐอเมริกา ถึงแม้นักพัฒนาจะทำภาพขึ้นมาเองก็ตาม เพราะไม่มีความคิดสร้างสรรค์มากพอที่จะทำได้ด้วยตนเอง

Photo By : REUTERS

เบอริล เอ.ฮาเวลล์ (Beryl A. Howell) ผู้พิพากษาเขตของสหรัฐฯ กล่าวเมื่อวันศุกย์ที่ผ่านมา ผลงานที่เขียนและสร้างขึ้นโดยมนุษย์เท่านั้นที่สามารถจดลิขสิทธิ์ได้ เนื่องจากสำนักงานลิขสิทธิ์ของสหรัฐอเมริกาปฏิเสธคำร้องของ Stephen Thaler ที่ได้ขึ้นให้การฟ้องร้องคดีเพื่อยื่นขอจดลิขสิทธิ์ผลงาน ในฐานะผู้สร้างสรรค์และเป็นเจ้าของภาพชุดผลงาน ‘Creativity Machine’ แต่เขากลับไม่เห็นด้วยกับการตัดสินกฎหมายลิขสิทธิ์ตามที่ศาลระบุไว้

AI ไม่มีหัวคิด ขาดความสร้างสรรค์

Stephen Thaler  เป็นเจ้าของบริษัทชื่อ Imagination Engines ที่ได้ทำการสร้างภาพจาก Genetive AI  ชื่อ Creativity Machine ในนามของระบบ DABUS  ย่อมาจาก Device for the Autonomous Bootstrapping of Unified Sentience  ตัว Thaler เองพยายามยื่นเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ภาพวาดนี้มาหลายครั้ง เนื่องจากเป็นระบบ AI ที่เขาสร้างขึ้น แต่ผู้พิพากษามองว่างานศิลปะที่สร้างขึ้นโดย AI ไม่มีสิทธิ์ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ เนื่องจากขาดขั้นตอนการสร้างสรรค์ของมนุษย์ ที่สำคัญการผลิตโดยมนุษย์นับว่าเป็น “ข้อกำหนดพื้นฐานของลิขสิทธิ์”  

และทางด้านทนายความของ Thaler ได้ยื่นอุทธรณ์คดีนี้ พร้อมระบุถึงการไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการตีความกฎหมายลิขสิทธิ์ของศาล

ทางผู้พิพากศา Howell ยังยกตัวย่างภาพที่ถ่ายด้วยกล้อง โดยเป็นงานมีลิขสิทธิ์คุ้มครอง ถึงแม้กล้องจะสร้างภาพกลไกขึ้นมาใหม่ แต่จะเกิดขึ้นหลังจากที่มนุษย์ได้ถ่ายทอดออกมาผ่านความคิด และทางจิตวิญญาณ ซึ่งภาพถ่ายนั้นยังได้มีการจัดวางวัตถุในภาพ การจัดแสง ตำแหน่ง รวมไปถึงปัจจัยอื่น ๆ จึงจะเรียกว่างานที่มีลิขสิทธิ์ของเจ้าของภาพถ่ายนั้น ก็ต้องดูไปตาม case by case

Howell กล่าวทิ้งท้าย “การมีส่วนร่วมของมนุษย์และการควบคุมความคิดเชิงสร้างสรรค์ นับว่าเป็นกุญแจสําคัญในการสรุปว่างานประเภทใหนควรอยู่ในขอบเขตของลิขสิทธิ์”

ถ้าให้พูดกันง่าย ๆ ว่าการคุ้มครองสามารถขยายไปถึงภาพถ่ายได้ตราบเท่าที่ “ภาพเหล่านั้นเป็นตัวแทนของแนวคิดทางปัญญาดั้งเดิมของมนุษย์” นั่นเองค่ะ

ถ้าให้เรามานึกย้อนกันดู ในปัจจุบันมีเครื่องมือ Generative AI ออกมานับไม่ถ้วนไม่ว่าจะเป็น Midjourney, Stable Diffusion หรือ DALL-E ที่เคยโด่งกันไปไปเมื่อหลายปีก่อน โดยเครื่องมือเหล่านี้ถือว่าเป็นโอกาศให้ผู้คนมากมายได้เข้ามาทดลองสร้างงานศิลปะด้วยตันเอง แต่ก็มีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่มองหาประโยนช์ และคิดว่าเป็นแหล่งทำเงินชั้นยอด เพราะไม่ต้องลงมือลงแรงแต่อย่างใดก็ได้ภาพที่สวยงามเกินกว่าจะจินตนาการได้ จึงไม่แปลกที่มีผู้คนเข้ามาหาประโยชน์ และเมื่อถึงจุดหนึ่ง ก็อยากช่วงชิงความเป็นเจ้าของมาไว้ในกำมือ

นอกจากนี้ Ai ยังไม่มีความสามารถพอที่จะแยกแยะงานศิลปะของศิลปินดั้งเดิมได้ถึงแม้ว่าตัว Ai จะสร้างภาพได้อย่างไม่ผิดกฎหมาย แต่เราปฎิเสธไม่ได้ค่ะว่ามันมีความคลุมเครือในเรื่องนี้จนส่งผลกระทบทางกฎหมาย เรียกว่าเป็นการขโมยงานศิลปะและแสวงหาผลกำไรในที่สุด

 

 

ที่มา : hollywoodreporter, reuters