ทรู-ดีแทค แม้ได้รับการพยักหน้ารับทราบจากกสทช. แล้ว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถดำเนินธุรกิจได้ทุกด้านอย่างไร้ขีดจำกัด เพราะทางกสทช. ออกมาชี้แจงย้ำชัดอีกครั้ง ว่าถึงจะรวมธุรกิจไป แต่ห้ามรวม ‘คลื่นความถี่’ ซึ่งเป็นหนึ่งในการกำกับดูแลที่กสทช. ตั้งเงื่อนไขไว้โดยตรง
ความคืบหน้าล่าสุดประเด็นร้อนการควบรวม True-Dtac หลังมีการปล่อยผ่านให้เกิดการควบรวมเมื่อ 20 ตุลาคม 2022 คือสำนักงานกสทช. ได้ออกมาชี้แจงเงื่อนไขสำคัญที่ห้ามไม่ให้เกิดการควบรวมคลื่นความถี่ ที่ทั้งสองบริษัทถือครองอยู่เด็ดขาด เพื่อรักษาผลประโยชน์สูงสุดให้ประชาชน
ดังนั้นก็เป็นที่น่าจับตามอง ว่าทั้งทรูและดีแทคจะดำเนินธุรกิจให้บริการสัญญาณเครือข่ายมือถืออย่างไร หากต้องการควบรวมทั้งสองบริษัทแต่จำเป็นต้องมีการแยกส่วนการให้บริการตามแบบเดิม ไม่แน่อาจจะยังคงรักษาแบรนด์ทั้งสองไว้แยกการบริการ แต่หลังบ้านก็คงจะมีการร่วมมือกันตัดสินใจทางการตลาด แลกข้อมูลเชิงลึกต่าง ๆ เพื่อการตัดสินใจในการดำเนินงานธุรกิจ ซึ่งก็หมายความว่าจะยังได้ผลประโยชน์จากการควบรวมกันอยู่ดีครับ
บทความที่เกี่ยวข้อง
- กสทช. ลงมติ “รับทราบ” ดีลควบรวม ทรู-ดีแทค พร้อมออกมาตรการคุ้มครองผู้บริโภค
- ‘พิรงรอง’ กสทช. เสียงข้างน้อย ‘ไม่อนุญาต’ ชี้ควบรวมทรู-ดีแทค นำไปสู่การผูกขาด ค่าบริการอาจเพิ่มสูงขึ้น
- สภาองค์กรผู้บริโภคเชิญชวนคนไทยช่วยกันบีบ ให้ กสทช. ใช้อำนาจพิจารณาดีล true – dtac
นอกจากนี้ทางกสทช. ยังยืนยันว่าจะมีการตรวจสอบกระบวนการควบรวมของทรูและดีแทค และแจ้งรายงานออกมาให้เราทราบกันเรื่อย ๆ ตอนนี้ทุกภาคส่วนก็ต้องหันมาจับตาพวกการรายงานเหล่านี้เป็นระยะไป
ที่มีข่าวว่าห้ามควบรวมคลื่นมันเป็นแค่ข้อเสนอในที่ประชุม กสทช. ที่มีคนไปเอาข้อมูลมาออกมาเปิดเผย ไม่ใช่ข้อสรุปของ กสทช. ไม่ใช่หรอ?
เชื่อไหมว่า วันนึง เขาก้อควบรวมกันได้ ด้วยเหตุผลร้อยแปดพันประการ ว่าแต่ กฎหมายที่เขียนไว้ มีช่องโหว่ให้เค้าทำได้หรือไม่