จากสถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้หลายธุรกิจต้องเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจที่น่าจะต้องใช้เวลาอีกสักพักใหญ่กว่าที่กลับเข้าที่เข้าทาง ซึ่งเหล่าร้านอาหารก็เป็นอีกธุรกิจที่ได้รับผลกระทบโดยตรง ยอดขายต่อวันหายฮวบไปแบบน่าใจหาย จะมีก็ยอดฝั่ง Delivery สั่งอาหารส่งถึงบ้านที่ยังพอเรียกลูกค้าได้บ้าง แต่สิ่งที่หลายคนอาจจะไม่ค่อยรู้ก็คือ หลายร้านที่เราสั่งกันผ่านแอป ต่างมีการบวกราคาหรือเรียกค่าคอมตั้งแต่ 0 – 35% ซึ่งทางผู้ประกอบการร้านอาหารได้ออกมาวอนแพลตฟอร์มสั่งอาหารช่วยลดราคาในช่วงนี้
โดยเพจที่ออกมาเป็นตัวแทนร้านอาหารต่างๆในการเรียกร้อง ก็คือ “เพื่อนแท้ร้านอาหาร” ที่ได้โพสต์เรียกร้องให้เหล่าแพลตฟอร์ม Food Delivery อย่าง LINE MAN, GrabFood, GetFood, หรือ Food Panda ช่วยพิจารณาปรับลดค่า GP ลงเหลือ 15% เป็นระยะเวลา 3 เดือน จากที่ก่อนหน้ามีการชาร์จสูงถึง 35%
จากมาตรการปิดร้านอาหาร ทำให้แต่ละร้านไม่สามารถรับลูกค้าเข้ามานั่งทานในร้านได้อีกต่อไป และน่าจะส่งผลช่วยให้ธุรกิจส่งอาหารได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นด้วย
ค่า GP คือ?
ค่า GP ถ้าตามภาษาที่เหล่าร้านค้าเรียกกันมันก็เป็นเหมือนค่าคอมที่แพลตฟอร์ม Food Delivery เรียกเก็บจากร้านอาหาร ซึ่งมีการเรียกเก็บในเรตที่ไม่เท่ากัน ตามข้อมูลที่เราได้รับมาถ้าร้านดังๆหน่อยก็อาจจะได้เรตที่ต่ำ ส่วนมากจะโดนค่า GP ตรงนี้สูงถึง 35% และข้อตกลงนี้จะต่างกันออกไปตามแต่ละแพลตฟอร์ม โดยค่า GP นี้แต่ละร้านจะมีการบริหารจัดการที่แตกต่างกันออกไป บางร้านเลือกที่จะรับค่า GP ตรงนี้ไปด้วยตัวเอง (กรณีโดนค่า GP ไม่สูงมาก) และบางร้านก็มีการบวกเอาไว้จากราคาหน้าร้านแทน เช่น ราคาขายหน้าร้าน 70 บาท เมื่อประกาศลงแอป ก็จะขึ้นเป็น 100 บาท เมื่อหักค่า GP ไปก็จะเหลือเท่าเดิม ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมสำหรับแอปที่ทำค่าส่งถูกๆ และหวังรายได้เพิ่มจากส่วนแบ่งตรงนี้แทน
เราเคยเก็บข้อมูลเมื่อกลางปี 2019 ที่ผ่านมา พบว่า LINE MAN ไม่มีการบวกราคา แต่ราคาค่าส่งก็จะสูงกว่ากว่า Grab ที่จะมีการบวกราคาต่อออเดอร์ไม่น้อยกว่า 10-25 บาท เลยทีเดียว
แพลตฟอร์ม นอนตีพุงได้ค่า GP ไปฟรีๆ?
เป็นความเข้าใจที่หลายคนคิดว่าแพลตฟอร์มเหล่านี้เค้านอนนับเงินสบายๆ ทำนาบนหลังคน แต่ในความเป็นจริงแล้วค่าบริหารจัดการส่วนนี้ก็ไม่น้อย โดยส่วนนึงก็จะหักเป็นค่าคนขับรถส่งอาหารก่อน และอีกส่วนนึงก็เป็นค่าใช้จ่ายของส่วนออฟฟิศ ทั้งทีมงานดูแลฝั่งลูกค้า และฝั่งร้านอาหาร ทีมพัฒนาแอปพลิเคชั่นที่คอยพัฒนาฟีเจอร์ต่างๆ ดูแลความปลอดภัยและอำนวยความสะดวก รวมถึงทีมบริหารจัดการ และฝ่ายการตลาดที่ต้องจัดโปรโมชั่น และอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนนี้ก็ไม่ได้น้อยเลย ยิ่งถ้าตัวแอปไม่ได้รับความนิยม คนใช้ยังไม่มาก โอกาสที่ขาดทุนก็มีอยู่ไม่น้อย
เคยถามคนขับบางรายมีรายได้สูงถึงเดือนละ 40,000 บาท เรียกว่าเปลี่ยนชีวิตเลยก็ว่าได้
ทั้งนี้ทั้งนั้น เราก็ไม่อยากออกตัวแทนเหล่าแอป ว่าเค้ากำไรหรือขาดทุนแค่ไหน และหลายร้านที่วันนี้ก็สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำจากแพลตฟอร์มส่งอาหารนี้โดยไม่ออกมาบ่นอะไร แต่ก็อยากฝากเอาไว้ว่า ในช่วงเวลาวิกฤติแบบนี้ ไม่ว่าจะเป็นฝั่งใดก็ตาม มันก็เป็นเรื่องดีที่เราสามารถปันน้ำใจ เอาใจทั้งฝั่งลูกค้าและพาร์ทเนอร์ ประคองทุกฝ่ายให้อยู่กันได้ ฝ่าช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ไปพร้อมๆกัน ก็น่าจะดีที่สุดครับ
ขนาด Grab Taxi บ.เขายังไม่สนใจพาทเนอร์คนขับเลย…ไม่มีสิทธิ หรือมาตราการสงเสริมช่วยเหลือไรสักอย่าง
ก็ควรลดให้ร้านอาหารเค้ามั้งนะค้าบ ได้จากเค้ามาก็เยอะ น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า
อันนี้ผมไม่ได้สนับสนุนให้ไม่ลดนะครับ
แต่ผมมองว่าตอนนี้ร้านที่มาร้องให้ platform ลดราคาอันนี้เหมือนไม่ตรงจุดมากกว่าครับ
เพราะดูแล้วคือ ร้านได้รับผลกระทบจากการที่คนมากินน้อยลง แต่มาขอให้บริการ delivery ลดราคา
ซึ่งถ้ามองจริงๆ แล้ว ตัว delivery มีส่วนช่วยให้ร้านยังคงมีรายได้เข้ามานะครับ จากที่ปกติคนต้องมากินที่ร้าน ซึ่งถ้าไม่มี platform สั่งอาหาร เท่ากับว่าตอนนี้คนยิ่งหายเพราะไม่มากินที่ร้าน
ซึ่งถ้ามองการที่มีบริการสั่งอาหาร ร้านยังคงพอมีรายได้เข้ามาอยู่ เทียบกับร้านที่ไม่มีบริการส่งมาก่อนนี่ต้องปิดไปเลย เช่นพวกร้านบุฟเฟ่ ที่เอากลับบ้านไม่ได้ ถ้าไม่ปรับออกเป็นจานเดี่ยว
ในส่วนค่า GP โดยเฉลี่ยในระบบ supply chain การคิดส่วนแบ่งที่ประมาณ 25-35% นั้นเป็นเรื่องปกติของในทุกธุรกิจอยู่แล้ว เพราะค่าจัดการที่ถ้าคนไม่ได้ทำธุรกิจมาก่อนจะนึกไม่ถึงครับ
ร้านน่าจะร้องเรียนร้ฐมากกว่าที่สั่งปิดหรือเรียกร้องมาตรการเยียวยาครับ เพราะคนเข้าร้านไม่ได้
บริษัทมันก็ต้องจ่ายเงินให้คนขับไหม ปกติก็เห็นหลายร้าน ขึ้นราคาล่วงหน้าไว้ในแอปละนี่
โอด ถุย! บวกราคา ลดปริมาณ ยังมีหน้ามาโอด ถุยๆๆๆ
ไม่โอดได้ยังไงละครับ ตอนนี้ 35%
ผมร้านค้าเล็กๆน่ะ ลองคิดดู
หมูบด 1 กิโล = 1,000 กรัม 130 บ. / 1กล่องให้หมู 100 กรัม ขายที่ 35 บ. = ขายได้ 10กล่อง/หมู1โล = ยอดขาย 350 บ.
เครื่องปรุง/เเก็ส/กล่อง/ค่าเเรง ตกละ 3 บ. = 10กล่อง/30บ.
รวมทุน 160 บ. / ทุนคิดเป็น 45% ของยอดขาย
ขายได้ 350 บ. / กำไร 55 % ของยอดขาย
เเต่เมื่อ เเพลทฟอร์ม เก็บอีก 35% = ทุนก็จะเป็น 80% เหลือกำไรเพียง 20%
จากกำไร 190 บ./หมู 1 กิโล/10กล่อง
เหลือกำไรเพียง 67 บ./หมู1 กิโล/10กล่อง
พอลดปริมาณ ลค. ก็โอด เพิ่มราคา ลค.ก็โอด เห้อ