ภายหลังประชุมหัวหน้าหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมวันนี้ (31 มีนาคม 2564) นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ดำเนินการจัดระเบียบรถจักรยานยนต์ขนส่งอาหารเดลิเวอรี หลังพบว่า ผู้ให้บริการเริ่มมีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ และช่วงหลังมีประชาชนร้องเรียนเข้ามาเยอะ เกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้รถและถนน
ใครที่ใช้บริการแอปฟู้ดเดลิเวอรีจากหลาย ๆ เจ้าอยู่ น่าจะทราบกันดีว่า หนึ่งในฟีเจอร์สำคัญที่ GrabFood ขาดหายไปคือฟีเจอร์ “สั่งอาหารล่วงหน้า” ซึ่งมันสร้างความไม่สะดวกในการใช้งานให้ผู้ใช้งานเป็นอย่างมาก จะกินอะไรแต่ละทีก็ต้องสั่งตามเวลา ไม่สามารถกำหนดเวลาที่แน่นอนได้ ต้องกะเผื่อ ๆ เอาเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงเวลาที่มีคนใช้บริการเยอะ แต่ล่าสุด Grab ได้เปิดให้ใช้งานฟีเจอร์ดังกล่าวกันอย่างเงียบ ๆ แล้ว
ในช่วงที่ผ่านมาได้เกิดกระแสและแรงต้านต่อ Grab หลังมีการขึ้นราคาค่า GP หรือค่าคอมมิชชั่น ต่อร้านอาหารจากเดิมสูงสุด 30% เป็น 35% ซึ่งหลายฝ่ายมองว่า Grab ฉวยโอกาสในช่วงที่เกิดวิกฤติ จนทำให้บางคนถึงขั้นแบนไม่ใช้บริการไปเลยก็มี ล่าสุดทาง Grab ได้ออกมาแถลงว่าทำการลดค่า GP กลับลงไปเหลือ 30% เท่าเดิมเรียบร้อย พร้อมเร่งขยายจังหวัดที่รองรับ และเร่งขั้นตอนรับร้านเข้าสู่ระบบให้เร็วขึ้นกว่าเดิม
จากสถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้หลายธุรกิจต้องเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจที่น่าจะต้องใช้เวลาอีกสักพักใหญ่กว่าที่กลับเข้าที่เข้าทาง ซึ่งเหล่าร้านอาหารก็เป็นอีกธุรกิจที่ได้รับผลกระทบโดยตรง ยอดขายต่อวันหายฮวบไปแบบน่าใจหาย จะมีก็ยอดฝั่ง Delivery สั่งอาหารส่งถึงบ้านที่ยังพอเรียกลูกค้าได้บ้าง แต่สิ่งที่หลายคนอาจจะไม่ค่อยรู้ก็คือ หลายร้านที่เราสั่งกันผ่านแอป ต่างมีการบวกราคาหรือเรียกค่าคอมตั้งแต่ 0 – 35% ซึ่งทางผู้ประกอบการร้านอาหารได้ออกมาวอนแพลตฟอร์มสั่งอาหารช่วยลดราคาในช่วงนี้
แม้สถานการณ์ระบาดของโคโรน่าไวรัสในประเทศไทยนั้นจะยังถูกประกาศย้ำมาว่าอยู่ในระดับ 2 แต่ดูเหมือนจะมีรายงานเคสใหม่ๆ ที่ตรวจพบโรค COVID-19 มากขึ้น ล่าสุดมีรายงานงานว่าบอร์ดบริหารของ กสทช. ที่เพิ่งเดินทางกลับจากประเทศกลุ่มเสี่ยง ปฏิเสธไม่ยอมวัดไข้ ไม่ยอมกักตัว และจะเดินทางเข้าร่วมประชุมบอร์ด จนเกิดความโกลาหลและต้องเลื่อนประชุมออกไป ส่วน Grab ประเทศไทยก็มีการปิดออฟฟิศชั่วคราวหลังพนักงานที่เดินทางกลับไปสิงคโปร์เป็น COVID-19 และยังมีรายงานเจ้าของร้านอาหารและเจ้าหน้าที่ ตม. ติดเชื้อด้วย
แม้จะเป็นทุกแทบทุกอย่างให้พวกเราอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็น บริการขนส่งคน สินค้า อาหาร คนขับรถส่วนตัว บริการเช่ารถ จองที่พัก และใด ๆ อีกมาก แต่ดูท่างานนี้ Grab จะยังคงไม่พอใจ ขอไปต่อ จ่อเพิ่มบริการ FinTech เข้ามาในแอปพลิเคชั่นอีกอย่างในเร็ว ๆ นี้ หลังออกมาประกาศความสำเร็จรับเงินอัดฉีดครั้งใหญ่จากกลุ่มทุนญี่ปุ่น ได้วงเงินลงทุนเพิ่มอีกร่วม 30,000...
Grab Financial Group ประกาศจับมือทำธุรกิจกับธนาคารกสิกรไทยเปิดตัว GrabPay Wallet กระเป๋าตังค์อิเล็กทรอนิกส์พร้อมบริการเสริมอื่นๆ ซึ่งจะเข้ามาช่วยผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงสินค้าและบริการต่างๆ ของร้านค้าจำนวนมากได้ด้วยการชำระเงินผ่านแอป ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับชีวิตประจำวันแถมยังช่วยผลักดันให้ประเทศไทยกลายเป็นสังคมไร้เงินสดอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น
เมื่อวานนี้ทาง Grab ได้ทำการเปิดตัวบริการใหม่ GrabKitchen ซึ่งหลังงานก็ได้มีการตอบคำถามแก่ผู้สื่อข่าวอยู่หลายข้อ แต่เรื่องที่น่าสนใจมากคือคำตอบจากคำถามที่ว่า Grab ได้รับผลกระทบใดจากเศรษฐกิจที่แย่ในปัจจุบันหรือไม่ ทางผู้บริหารได้ตอบอย่างมั่นใจว่าบริการของบริษัทเติบโตได้เป็นอย่างดี หรือเรียกว่าเป็นปีทองของพวกเขาเลยก็ว่าได้ สวนทางกับหลายธุรกิจที่แทบจะปิดตัวลงในช่วงนี้
สั่งอาหารผ่านแอปน่าจะเป็นเรื่องปกติ ของหลายคนไปแล้ว แต่บางทีอยากจะกินอาหารร้านดัง ก็อยู่ไกลไปหน่อย ค่าส่งก็แพง อยากจะสั่งทีละหลายร้านหลายเมนูก็เปลือง ซึ่งเหมือนว่า Grab จะรู้ปัญหานี่ดี จึงได้เปิดบริการใหม่ GrabKitchen ทำครัวกลางให้เหล่าร้านดังมาขยายสาขาที่กลางเมืองสำหรับทำส่งเพียงอย่างเดียว พร้อมเปิดให้ mix & match เมนูที่อยู่ในครัวเดียวกัน ให้ส่งพร้อมกันได้โดยไม่ต้องจ่ายเพิ่ม
เผลอแป๊บเดียว Grab ก็เปิดให้บริการในเมืองไทยมาครบ 6 ปีเป็นที่เรียบร้อย ผ่านความดราม่าจากทุกฝ่ายไม่ว่าจะผู้ใช้ คนขับ และภาครัฐ แต่ก็ยังอยู่ได้และเติบโตดีมาโดยตลอด ปัจจุบันไม่ได้ให้บริการเพียงแค่ในกรุงเทพฯเท่านั้น แต่รวมไปถึงจังหวัดท่องเที่ยวอีกหลายจังหวัดทั่วไทย รวม 18 เมือง คิดเป็นจำนวนเที่ยวทั้งหมดไม่น้อยกว่า 320 ล้านครั้งเลยทีเดียว