หลังจากกระแสของ Single Gateway เงียบลงไป เพาะโดนกระแสคัดค้านจากชาวเน็ตและทำให้ต้องมีการพิจารณาบางประเด็นที่ดูคลุมเครือเกินไป (อ่านรายละเอียดเรื่อง Single Gateway) แต่ล่าดูเหมือนว่า พ.ร.บ. คอมฯ ใหม่ ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และกำลังจะทำการพิจารณาวาระที่ 2 และ 3 นั้นมีหลายมาตราที่ส่อถึงการกระทำแบบเดียวกับระบบ Single Gateway โดยสามารถอ่านข้อมูลที่เข้ารหัส SSL ได้, มีสิทธิ์เด็ดขาดในการสั่งลบและบล็อคข้อมูลโดยไม่ต้องรอคำสั่งสาร ทำให้ตอนนี้เกิดแคมเปญ change.org ล่ารายชื่อคัดค้าน single gateway โดยเครือข่ายพลเมืองเน็ต ให้ไปร่วมลงชื่อคัดค้านกันแล้ว
ประเด็นหลักๆ ของร่าง พ.ร.บ. คอมฯ ฉบับนี้มีหลายข้อที่มีเนื้อหาคลุมเครือ รวมถึงเปิดโอกาสให้หน่วยงานสามารถเข้าถึงข้อมูลของใครก็ได้เพราะสามารถดูข้อมูลที่มีการเข้ารหัส SSL, สามารถเลือกลบหรือบล็อคเวบหรือเนื้อหาต่างๆ ได้โดยไม่ต้องรอคำสั่งศาล รวมถึงเปิดช่องให้สามารถปิดเวบไซต์ใดๆ ก็ได้แม่ไม่ได้มีการกระทำผิดกฎหมาย ซึ่งนั่นเป็นส่วนที่เครือข่ายพลเมืองเน็ตกังวล
โดยตอนนี้แคมเปญใน change.org ได้มีผู้ไปร่วมลงชื่อคัดค้านแล้วกว่า 200,000 ราย โดยนายอาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล ผู้ประสานงานเครือข่ายพลเมืองเน็ต จะนำรายชื่อทั้งหมดไปยื่นต่อ สนช. โดยหวังว่าจะสามารถรวบรวมได้ 300,000 รายชื่อ และหวังว่าจะมีผลต่อการตัดสินใจของ สนช. ในการพิจารณาร่างในวันที่ 16 ธันวาคมนี้
source : matichon
รอดูรายละเอียดอีกที่ ค่อยเข้าไปลงชื่อ
ดูรายละเอียดรึยังครับ วันที่ 16 นี้เค้าจะยื่นวาระสุดท้ายแล้วนะครับ
กำลังอ่านยุครับ 555
ตามนั้น และถ้าไม่มีอะไรผิดพลาดก็น่าจะผ่านด้วย
ถ้า พรบ นี้ผ่าน เว็บ droidsans ก็จะถูกสั่งปิดเพราะเผยแพร่ข้อมูลแบบนี้
หรือถ้าคนที่มีอำนาจชอบไอโฟน แล้วเกิดหมั่นไส้ที่droidsans team ที่ชอบอวยมือถือandroidตลอด เว็บนี้ก็อาจโดนสั่งปิดได้ง่ายๆ
อย่าดูถูกความคิดไร้สาระของผู้มีอำนาจในบ้านเรานะครับ เค้าสามารถคิดไร้สาระได้อย่างน่าทึ่งเลยครับ
ที่น่าห่วงคือ การดูข้อมูลที่ถูกเข้ารหัสได้ ใครเล่นไม่ซื่อ เจาะเข้าการทำธุรกรรมทางการเงินขึ้นมาละก็…
ตรงคำสั่งศาล พิมพ์ผิดรึเปล่าครับ เห็นพิมพ์เป็นคำสั่งสาร??
สยอง
ประเทศเรา ยังมีอะไรที่ต้องพัฒนาอีกเยอะ แต่เรื่องโง่ๆ รัดถะบานนี้ทำไมเก่งจังครับ
ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับร่าง พรบ. ปี 2559 เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลและ Single Gateway
http://pantip.com/topic/35914200
เอาไว้ใช้เป็นเครื่องมือกำจัดคนที่เป็นศัตรูทางการเมืองหรือคนที่มีแนวคิดที่ต้อต้าน-ขัดแย้งอำนาจรัฐ
รัฐบาลต่อไปๆ ถ้าเป็นรัฐบาลชั่วนี่
จำไว้เลย นี่คือของขวัญชิ้นโบแดงของรัฐบาลทหารชุดนี้เตรียมไว้ให้
ก็ไม่แปลกนี่ครับ สาระของ พรบ. ตรงไหนที่บอกว่า single gateway จะกลับมา แต่ droidsans กลับบอกว่ามันจะกลับมา เข้าค่ายปลุกระดมหรือเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จหรือเปล่า ก็ลองคิดกันดู
555+ น่ากลัวจริง ๆ
ทำไมถึงทำกับฉันได้ ยังงี้ก็รู้เวปที่ข้าพเจ้าเข้าแล้วก็รหัสทั้งหมดสิ
ผมไม่รู้เรื่องกฏหมายมากนัก
ถ้าใช้วิธีแฮก ก็เป็นไปแทบไม่ได้ที่จะเจาะ SSL เพราะหลังๆ เข้ารหัสกัน ซับซ้อน เจาะไม่ได้ง่ายๆแน่
แต่ถ้ากฏหมายสั่งให้ขอเข้าไปดูข้อมูลที่ตัว server ตอนถอดรหัสแล้ว อาจเป็นไปได้มังครับ แต่ว่าถ้ากฏหมายทำกันถึงขนาดนี้แล้วล่ะก็ คงไม่ต้องมีความลับแล้วกระมัง
แต่ที่แสบสันจนน่าโมโห คือเอกสารราชการ ดันประทับตราว่า "ความลับ" ห้ามเปิดได้. ถ้าจะทำเรื่องอะไรไม่ดีก็ทำได้ทั้งนั้น
หลาย ๆ อย่าง อ่านแล้ว แบบ…..จะกลัวกันมากเกินไปหรือเปล่า
ในแคมเป็น ก็เหมือนจะเขียนให้คนอ่านกลัวจนเกินเหตุ…..
ควรจะค้านแค่ในส่วนที่ควรค้านมากกว่าเล่นกับความรู้สึกของคนเพื่อหาพวก
2. เปิดช่องไม่ต้องใช้คำสั่งศาล
ถ้าคุณคือผู้เสียหาย ต้องไปแจ้งความ เอาใบแจ้งความไปขอคำสั่งศาล
กว่าจะได้หมายศาล ข้อมูลคงส่งไปถึงดาวอังคารละ
เสียหาไปแล้ว เสียชื่อไปแล้ว ต่อไปลบได้ มันก็กู้สิ่งที่เสียไปกลับคืนมาไม่ได้
1. ผู้เสียหายร้องเรียน
2. ผู้ให้บริการ แจ้งลบ (คือ มันแค่โดนลบ ถ้าไม่ผิด ก็กู้คืนมาสิ)
3. ผู้ให้บริการส่งสำเน่าร้องเรียนให้ผู้กระทำผิด
4. ถ้าไม่ผิดตามที่ถูกร้องเรียน ก็ใช้สำเนานี้ ร้องเรียน คืนแจ้งความคืนไป
เรียกร้องค่าเสียหายกันไป
มันต่างอะไรกับปุ่มร้องเรียน/ปุ่มรายงาน ที่มีให้เห็นทั่วไปในเว็บบอร์ต หรือ FB
3. ข้อมูลส่วนบุคคลตกอยู่ในอันตราย — มาตรา 20
(Single Gateway)
ตรงส่วนที่ว่า…. มูลคอมพิวเตอร์ที่เข้ารหัสด้วยเทคโนโลยี SSL (Secure Socket Layer)….
อ่านไปหลายรอบละ ไม่มีส่วนไหนบอกว่า จะขอถอดรหัส SSL เพื่อ monitor ดูตลอดเวลาเลย
มันแค่แก้ปัญหาตรงที่หน่วงงานไม่มีสามารถบล็อกเว็บที่เป็น https ได้มากกว่า
ในทางปฏิบัติ ถ้าจะมาส่งดูข้อมูลที่ส่งผ่าน SSL รัฐต้องมีคีย์เพื่อถอดรหัส
แล้วผู้ให้บริการเว็บไซต์ในต่างประเทศจะเล่นด้วยไหมละ
Google, Microsoft, Facebook และรายอื่น ๆ จะยอมให้คีย์เพื่อให้ส่องข้อมูลได้ตลอดเวลาไหม
4. ขยายอำนาจปิดเว็บ-ตั้งศูนย์บล็อคเว็บเบ็ดเสร็จ — อำนาจของมาตรา 20
การจะลบ ต้องทำเรื่องด้วย ก็ต้องเก็บหลักฐาน ทำรายงานสรุปผลด้วย
ถ้าเจ้าหน้าที่ใช้อำนาจโดยมิชอบ ก็ยังมีการเก็บ log การทำงานไว้เป็นหลักฐานอยู่แล้ว
ถ้าไม่มีการเก็บ log เท่ากับว่าหน่วยงานั้น ๆ ทำผิดกฎหมายซะเอง
หรือกรณีแอบลบ เราก็แจ้งความเอาผิดคืนได้
ไม่กฎหมายข้อไหน ห้ามไม่ให้ประชาชนแจ้งความเอาผิดเจ้าหน้าที่รัฐ
อันนี้คานหัวชนฝาเลย
"กบว.ออนไลน์" นี่ พูดยาก 555 คนในประเทศมีหลาย Gen จะเอาให้ถูกใจทุก Gen คงทำไม่ได้
การบล็อค การห้าม ในสิ่งที่ควรเอามาแสวงหาความจริงร่วมกันนี่ล่ะน่ากลัว
คือให้คนรู้ในสิ่งที่พวกตนเองอยากให้รู้ และปิดเรื่องของตนเองไม่ให้คนอื่นรู้
มันไม่ต่างจากยุคสมัยที่บอกให้ทุกคนเชื่อว่าโลกแบน ใครที่ออกนอกความคิดนี้เป็นพวกนอกรีต ต้องนำตัวมาลงโทษ โดยเฉพาะพวกที่ถูกลงโทษนี่ไม่มีโอกาสให้สาธารณะได้ทราบข้อมูลรอบด้านเลย
นี่คือความน่ากลัวและกังวล การตีความมันจะกว้างเสมอ และเสมอมาก็เป็นเครื่องมือให้กลุ่มอำนาจเก่าๆ
แทนที่จะมีกฏหมายส่งเสริมให้เปิดเสรี กลับพยายามปิดกั้นโลกาภิวัฒน์
ซึ่งข้อมูลเท็จไม่จริง เราไปสู้กันในชั้นศาลได้ ไม่ต้องมีกฏหมายมาเพิ่มเติมอะไร หรือว่ากลัวอะไรอยู่??
ประเทศประชาธิปไตยะนิยมจีน