เมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา หลายๆคนน่าจะได้ฮือฮากับการทำแคมเปญของสองธนาคาร ที่พยายามโปรโมทการจ่ายเงินด้วย QR Code ผ่านช่องทางบ้านๆอย่างมอเตอร์ไซด์รับจ้างกันไปบ้างแล้ว ซึ่งก็อาจจะเข้าใจว่ามีข้อจำกัดอยากใช้ก็ต้องย้ายธนาคารไป แต่ความจริงแล้วเตรียมใช้งานร่วมกันได้หมด เพราะวันนี้ทางธนาคารแห่งประเทศไทยร่วมกับผู้ให้บริการบัตรเครดิต ผู้บริการทางการเงินในไทย ธนาคาร และอีกหลายฝ่าย ที่เกี่ยวข้อง แถลงข่าวใช้คิวอาร์โค้ดมาตรฐานเดียวกันเพื่อการชำระเงินทั่วประเทศ

BOT แถลงข่าวคิวอาร์โค้ดมาตรฐาน

ภาพบรรยากาศจากในงานแถลงข่าว ซึ่งมีผู้บริหารจากหลายฝ่ายมารวมกันทั้ง (ดูจากโลโก้เอาเนอะว่ามีใครบ้าง)

เตรียมเริ่มใช้งานพร้อมกันไตรมาส 4 (ตุลาคมนี้)

แม้ว่าเราจะได้เห็นธนาคารต่างๆเริ่มเดโมการใช้งาน และออกไปประชาสัมพันธ์เชื้อชวนให้เหล่าผู้ให้บริการอย่าง วินมอเตอร์ไซด์ คนขายพวงมาลัย ร้านอาหารขนเข็น ใช้บริการของตัวเองไปแล้ว แต่ว่าปัจจุบันจะยังไม่สามารถจ่ายเงินข้ามธนาคารข้ามแอปได้ เพราะระบบกลางยังอยู่ระหว่างพัฒนาขั้นสุดท้าย ติด Regulatory Sandbox ทดสอบระบบเช็คความถูกต้องของการทำรายการและการดูแลผู้ใช้บริการ ซึ่งปัจจุบันมีธนาคาร 2 แห่งอยู่ระหว่างการทดสอบ และอีก 6 แห่งที่อยู่ระหว่างยื่นคำขอเข้าโครงการ โดยการให้บริการจริงจะทยอยเปิดตามความพร้อมต่อไป แต่น่าจะรออีกไม่นานภายในไตรมาส 4 เตรียมได้ใช้กันแน่นอน ซึ่งหลายๆเจ้าก็น่าจะพร้อมเปิดตั้งแต่เดือนตุลาคมเลยด้วย

kbank infographic china qr payment

infographic การชำระเงินด้วย QR code ประเทศจีนและไทย จาก K-NOW ของทาง KBANK

วิธีการทำงานของ Standardized QR code

ทางเราได้มีโอกาสพูดคุยกับทางคุณสุริพงษ์ ตันติยานนท์ ผู้จัดการ วีซ่า ประจำประเทศไทย เป็นระยะเวลาสั้นๆ เพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการทำงานของ Standardized QR Code  เลยขอเอามาสรุปให้อ่านกันง่ายๆพอให้เห็นภาพกัน โดยคิวอาร์โค้ดมาตรฐานนี้จะเป็นมาตรฐานที่ทางผู้ให้บริการบัตรเครดิตไม่ว่าจะเป็น VISA, MasterCard, UnionPay ลงมาร่วมมือกันพัฒนาขึ้นมาให้เป็นตัวกลางที่จะใช้งานได้ร่วมกัน (อ่านเพิ่มเติม) สอดคล้องกับมาตรฐาน EMVco และส่งต่อเทคโนโลยีนี้ให้กับทางธนาคารและผู้ให้บริการทางการเงินนำไปใช้ออก QR Code ต่อไป เพื่อป้องกันปัญหาต่างฝ่ายต่างพัฒนา QR ของตัวเองขึ้นมา จนเกิดความสับสนวุ่นวาย ต้องการชำระเงินทีนึงต้องควาญหาว่าจะต้องแสกนคิวอาร์อันไหนนั่นเอง

scb gen qr code

ใครสนใจอยากได้ QR Code ไปเพื่อรับการจ่ายเงิน ปัจจุบันบางธนาคารเริ่มออก QR ให้เริ่มใช้งานกันแล้ว ลองติดต่อธนาคารที่ใช้บริการอยู่ดูได้นะครับ

KTB bus payment

ธนาคารกรุงไทยจะเป็นผู้ให้บริการรับชำระเงินด้วย QR code บนรถเมล์

เมื่อร้านค้าหรือผู้ให้บริการต่างๆ มี QR Code เป็นของตนเองแล้ว เวลาลูกค้าอย่างเราๆ เดินไปซื้อของ ตอนจ่ายเงินก็สามารถหยิบมือถือเปิดแอปธนาคาร หรือ e-wallet ใดๆขึ้นมาสแกนเพื่อจ่ายเงินได้ทันที เพราะทางแอปของธนาคารและแอปกระเป๋าเงินออนไลน์ทั้งหลายจะแปลความ QR code มาตรฐานนั้นได้เหมือนกัน เจอบัญชีที่ต้องการจ่ายเหมือนกัน และสามารถทำธุรกรรมจ่ายเงินได้ทันทีเมื่อเรากดยืนยัน

SCB promptpay QR

จ่ายด้วยพร้อมเพย์ก็ได้ กดของจากตู้อัตโนมัติไม่ต้องใช้เหรียญกันละ

ในส่วนของการเลือกจ่ายนั้น ตัวระบบ EMVco เปิดตัวเลือกให้ทั้งร้านค้า เลือกได้ว่าต้องการจะรับเงินแบบใด ไม่ว่าจะเป็นการโอนเงินสดจากบัญชีในธนาคาร(พร้อมเพย์), รับชำระผ่านบัตรเดบิตหรือบัตรเครดิต, หรือจะรับเงินจากอีวอลเลตต่างๆ ผู้ใช้อย่างเราๆก็ต้องตรวจสอบเป็นร้านๆไปว่าใครรับการชำระเงินแบบใดบ้างไป

อย่างไรก็ดีการตัดสินใจเลือกรับการชำระเงินของร้านค้าอาจจะขึ้นกับนโยบายของแต่ละธนาคารด้วย ยังไงต้องรอติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมในช่วงเปิดใช้งานในไตรมาส 4 นี้ต่อไปครับ

ขอยกตัวอย่างเคสการใช้งานของแอป K PLUS SHOP ซึ่งเป็นแอปของทาง KBANK สำหรับร้านค้า ที่เจาะกลุ่มยอดการรับโอนเงินไม่เกิน 50,000 บาท/รายการ ซึ่งจะสามารถรับการชำระเงินจากกลุ่มนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทยผ่านคิวอาร์โค้ด ในแอปพลิเคชั่นยอดนิยมของชาวจีน คือ อาลีเพย์ (Alipay) และวีแชท (WeChat) และเตรียมรับ Standardized QR Code ของไทยในอนาคตมาให้ได้ดูกันนะ

ร้านค้า

– ไม่มีกำหนดยอดชำระขั้นต่ำ

– ไม่เสียค่าธรรมเนียม

คนซื้อ

– ไม่มีกำหนดยอดชำระขั้นต่ำ

– ไม่เสียค่าธรรมเนียม

1. ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น K PLUS SHOP ไม่เสียค่าธรรมเนียมในการสมัคร ร้านค้าจะได้รับ QR Codeประจำร้านของตนเอง1. ใช้แอปพลิเคชั่นโมบายแบงกิ้งของธนาคารไหนก็ได้ที่มีฟีเจอร์ QR Code
2. เมื่อมีลูกค้าซื้อสินค้าหรือบริการ ให้ยิง QR Codeประจำร้าน2. เมื่อจะซื้อสินค้าหรือบริการ ยิง QR Code ของร้านค้าที่จะซื้อ ระบุจำนวนเงิน และกดจ่ายได้ทันที
3. เงินเข้าบัญชีทันทีพร้อมมีการแจ้งยอดรายการ3. ได้รับ e-slip แจ้งยอดใช้จ่าย
4. รับรายงานสรุปยอดขายได้ทั้งรายวัน รายสัปดาห์ และรายเดือน

 

nytimes china cashless society

nytimes ได้เคยมีรายงานเรื่องสังคมไร้เงินสดที่ประเทศจีนเอาไว้ น่าอ่านดีครับ ลองกดไปดูกันได้

Cashless Society สังคมไร้เงินสด ไม่ใช่แค่ความฝันแต่กำลังจะมาจริงๆ

มาดูรายชื่อของหน่วยงานที่เข้าร่วม งานแถลงข่าวครั้งนี้กันหน่อย ว่าจะมีใครที่เราสามารถคาดหวังว่าจะใช้งานคิวอาร์โค้ดในการชำระเงินได้บ้าง

ผู้ให้บริการเครือข่ายบัตร

  • American Express
  • JCB international
  • Mastercard
  • UnionPay
  • VISA

ผู้ให้บริการทางการเงินในไทย

  • สมาคมธนาคารไทย
  • สภาสถาบันการเงินของรัฐ
  • สมาคมธนาคารนานาชาติ
  • สมาคมการค้าผู้ให้บริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ไทย
  • สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
  • บริษัท National ITMX จำกัด
  • บริษัท Thai Payment Network จำกัด

จากรายชื่อข้างต้นนี้ ก็มั่นใจได้ว่าธนาคารพาณิชย์เจ้าใหญ่ๆทั้งหลาย, e-wallet ยอดนิยม เตรียมรองรับการจ่ายเงินด้วย QR Code กันหมดแน่นอน จากการสำรวจผู้ให้บริการที่มาออกบูธในงานแถลงข่าว ธนาคารกรุงไทย กรุงเทพ กรุงศรี ไทยพาณิชย์ กสิกร เตรียมนำเอา standardized qr ไปใช้เรียบร้อยแล้ว รอแค่ระบบเปิดให้ใช้งาน ส่วนเหล่า e-wallet อย่าง mPay truemoney AirPay ก็เตรียมนำเอาไปใช้แทน QR Payment ที่ใช้อยู่ปัจจุบันเช่นกัน ซึ่งสงครามแย่งชิงลูกค้าได้เริ่มไปแล้วเรียบร้อย เป็นสัญญาณว่าทุกที่เอาจริงกับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้แบบสุดๆ มีความเป็นไปได้สูงว่าเมืองไทยจะเดินตามรอยประเทศจีนที่ปัจจุบันการจ่ายเงินด้วยคิวอาร์โค้ดกลายเป็นเรื่องปกติของคน เด็กเล็ก หรือผู้ใหญ่สูงอายุ ก็ใช้กันเป็นเรื่องปกติธรรมดา ทั้งในกรุงเทพ หัวเมืองใหญ่ และต่างจังหวัดก็ตาม

burgerking-airpay-qr mpay qr payment
AirPay และ mPay ต่างก็รับชำระเงินด้วย QR code ได้แต่เป็นระบบของตนเอง ซึ่งจะเปลี่ยนมาใช้คิวอาร์มาตรฐานเช่นกัน

ทำไมถึงมีการผลักดัน Standardized QR Code เพื่อสังคมไร้เงินสดอย่างจริงจัง?

การส่งเสริมคิวอาร์โค้ดมาตรฐานและสังคมไร้เงินสดในครั้งนี้ดูเป็นความร่วมมือที่ยิ่งใหญ่ มีหลายส่วนเข้ามาร่วมมือในการสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งนี้พอสมควร สถาบันการเงินและธนาคารที่ปกติขยับตัวช้ากลับตบเท้าเข้ามาร่วมด้วยอย่างรวดเร็ว ซึ่งถ้าคนที่ไม่ได้ติดตามเรื่องนี้อาจจะสงสัยว่ามันดียังไง ขอสรุปข้อดีมาให้ได้อ่านกันสั้นๆง่ายๆ ประมาณนี้นะครับ

  1. คิวอาร์โค้ดมาตรฐาน ที่ใช้นี้เป็นมาตรฐานสากล QR Code เดียวใช้ร่วมกันได้หมด อยู่ไทยจะใช้แอปไหนก็สแกนคิวอาร์โค้ดเดียวกันเพื่อจ่ายเงินได้ หรือถ้าไปต่างประเทศที่บ้านเค้ารองรับการจ่ายเงินด้วย QR Code ที่เป็นมาตรฐาน EMVco เช่นกัน ก็แสกนจ่ายได้เลยทันที ปัจจุบันอินเดียเริ่มนำไปใช้แล้ว และสิงคโปร์อยู่ระหว่างการกระจายระบบให้ทั่วทั้งเกาะ
  2. เพิ่มช่องทางการชำระเงินที่สะดวกและมีต้นทุนต่ำ ไม่ต้องวุ่นวายในการจัดการเงินสดในร้านค้า ต้องเอาเงินไปเข้าทุกวัน สามารถจัดทำบัญชีติดตามการใช้เงินได้ง่าย ดูเช็คยอดเงินล่าสุดก็สะดวกกว่าเงินสด ที่ต้องมาคอยนับแบงค์นับเหรียญให้เสียเวลา
  3. เพิ่มความปลอดภัยในการชำระเงิน ไม่ต้องให้บัตรหรือข้อมูลใดๆแก่ร้านค้า โครงสร้างความปลอดภัยของระบบก็ใช้พื้นฐานเดียวกับการชำระเงินในปัจจุบัน ที่การแฮกข้อมูลหรือปลอมแปลงต่างๆเป็นไปได้ยาก
  4. ต่อยอดนวัตกรรมทางการเงินอื่นๆได้ง่าย เป็นรากฐานสำคัญของร้านค้าขนาดกลางและเล็กที่จะเก็บข้อมูลได้อย่างเป็นระบบ นำไปใช้ต่อยอดในด้านอื่นๆได้ เช่น การขอสินเชื่อที่สถาบันการเงินในหลายประเทศได้เริ่มให้สินเชื่อโดยใช้ข้อมูลชำระเงินเป็นข้อมูลอ้างอิง แทนการใช้สินทรัพย์ถาวรเป็นหลักประกันแล้ว

อย่างไรก็ดี ข้อที่หลายคนกังวลจนยังไม่กล้าใช้งานระบบการเงินแบบนี้ หลักๆก็คือ ธุรกรรมทั้งหมดสามารถติดตามโดยหน่วยงานรัฐได้ จนอาจเป็นที่มาของการโดนเรียกเก็บภาษี ซึ่งเรื่องนี้ต้องบอกว่าในระยะยาวใครที่เลี่ยงภาษีอยู่ก็ควรต้องระวังตัวเอาไว้สักหน่อย เพราะเราได้เห็นคนโดนเรียกเก็บย้อนหลังกันจนอ่วมมานักต่อนักแล้ว

สำหรับใครที่กลัวเรื่องค่าธรรมเนียมต่างๆจากทางธนาคารหรือสถาบันการเงินที่แพงจนไม่อยากจะเสียให้ ตรงนี้ก็ลองพิจารณาการรับชำระเงินด้วยพร้อมเพย์ดูก็น่าสนใจอยู่ จ่ายเงินน้อยกว่า 5,000 บาท ไม่เสียอะไรสักแดง แถมเงินเข้ากระเป๋าแบบไม่หนัก ไม่ต้องเตรียมเงินทอนด้วย 

 

ยังไงก็เตรียมตัวเตรียมใจรับการมาของเทคโนโลยีนี้กันไว้ได้เลย คาดว่ายังไงก็เลี่ยงไม่ได้ แค่จะช้าหรือเร็วเท่านั้นเองครับ 🙂