ในงาน CES 2016 นั้นทาง Qualcomm ได้จับมือกับผู้ผลิตมือถือ LeTV เปิดตัว Le Max Pro สมาร์ทโฟนรุ่นแรกที่ใช้หน่วยประมวลผล Snapdragon 820 ตัวท็อปของปี 2016 ซึ่งมาพร้อมกับ “Qualcomm Sense ID” ระบบสแกนนิ้วมือแบบ 3 มิติโดยใช้คลื่นเสียงอัลตราโซนิค (ultrasonic) ที่เคลมว่าแม่นยำและปลอดภัยกว่าระบบสแกนลายนิ้วมือที่อยู่ในมือถือปัจจุบันทุกรุ่น เรามาทำความรู้จักเทคโนโลยีนี้ให้มากขึ้นกันดีกว่า
สำหรับเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือที่ใช้กันบนมือถือในยุคปัจจุบันจะเป็นเซ็นเซอร์แบบ Capacitive ที่อาศัยไฟฟ้าสถิตจากการสัมผัสนิ้วลงบนเซ็นเซอร์ทำเป็นรูปภาพลายนิ้วมือออกมา ซึ่งจะเป็นภาพ 2 มิติแบนๆเท่านั้น แต่สำหรับ Sense ID จะใช้คลื่นเสียงอัลตราโซนิคส่งออกไปกระทบกับลายนิ้วมือ เพื่อสร้างเป็นภาพ 3 มิติที่มีรายละเอียดความตื้นลึกของเส้นลายนิ้วมือชัดเจน hardware ที่ใช้จะมีตัวส่ง (transmitter) สำหรับส่งคลื่นเสียงออกไป และตัวรับ (receiver) ที่คอยจับจังหวะการสะท้อนกลับของคลื่นเสียง เพื่อวัดความลึกของผิวสัมผัสนั่นเอง
ภาพ 3 มิตินั้นทำการปลอมแปลงได้ยากกว่าภาพ 2 มิติอยู่แล้ว ทำให้ Sense ID มีความปลอดภัยสูงมากกว่าเซ็นเซอร์ทั่วไปหลายเท่าตัว นอกจากนั้นการใช้คลื่นเสียงจะสามารถทะลุทะลวงผ่านวัสดุได้หลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น กระจก, อะลูมิเนียม หรือพลาสติก ดังนั้น Sense ID จะสามารถอยู่ด้านหลังหรือถูกฝังอยู่ในวัสดุที่บอกมาได้ เพราะไม่ต้องการการสัมผัสจริงๆ “ความชื้นบนนิ้วมือ” ก็ไม่เป็นปัญหาเช่นกัน และเมื่อไม่มีการสัมผัส ก็จะช่วยลดความเสียหายที่เกิดจากการโดนกระแทกได้อีกด้วย
สำหรับการเก็บข้อมูลลายนิ้วมือของผู้ใช้ไม่ให้โดน hack ได้ก็เป็นเรื่องสำคัญของระบบสแกนลายนิ้วมือ ในระบบ Sense ID ของ Qualcomm จะมีวงจรพิเศษที่ชื่อว่า QBIC (Qualcomm Biometric Integrated Circuit) ที่คอยสื่อสารกับตัวเซ็นเซอร์เพื่อรับรู้และเก็บข้อมูลลายนิ้วมือไว้บนชิป จากนั้นจะเป็นตัวกลางที่คอยประสานงานกับตัว CPU Snapdragon เพื่อให้สามารถนำเอาลายนิ้วมือไปใช้ใน software ต่างๆได้
นอกจากนั้นใน Snapdragon 820 ยังมี “สถาปัตยกรรม Secure MSM” ที่จะเป็นกุารแบ่งแยกพื้นที่ประมวลผลข้อมูลสำคัญที่ต้องมีการเข้ารหัสเพื่อความปลอดภัย ออกจากการประมวลผลอย่างอื่นของ OS แนวทางนี้จะช่วยป้องกันให้ข้อมูลของผู้ใช้มีความปลอดภัยมากขึ้นเพราะถูกเก็บอยู่ใน hardware เฉพาะและต้องใช้คำสั่งพิเศษในการเข้าถึง รวมไปถึงฟีเจอร์ FIDO (Fast Identity Online) ที่จะนำลายนิ้วมือไปใช้ตรวจสอบและอนุมัติการทำธุรกรรมออนไลน์ โดยไม่จำเป็นต้องส่งข้อมูลลายนิ้วมือออกจากเครื่องเลย
โดยรวมแล้ว “การสแกนลายนิ้วมือโดยใช้คลื่นเสียง” แบบ Sense ID นั้นมีประโยชน์และข้อดีหลายอย่าง ทั้งเรื่องความรวดเร็ว, ความปลอดภัย และการประยุกต์ใช้กับวัสดุได้หลายแบบ ด้วยความสามารถขณะนี้ ผมว่าเราอาจจะได้เห็น “มือถือที่สามารถสแกนลายนิ้วมือได้โดยการแตะหน้าจอ” ในเวลาไม่นานแล้วครับ
ตัวอย่างมือถือที่สามารถสแกนลายนิ้วมือได้โดยการแตะหน้าจอ
ที่มา: Android Authority
ความชิ้นบนนิ้วมือ >>> ความชื้นบนนิ้วมือ
ก้อพัฒนากันไป
ผมสนใจเรื่องความร้อนของ820
แตะบนบอดี้ตรงไหนก็ได้แล้วสิ ผุ้ผลิตก็มีไอเดียเยอะขึ้นมากกว่าต้องใส่ปุ่มสแกนไว้ 2ที่ ตามที่เห็นๆกันบนมือถือตอนนี้ (ผมเข้าใจถูกใช่มั้ย 55)
อันนี้ดูดีกว่าแสกนม่านตาเยอะ
สแกนม่านตาก็ดีครับ แต่มันยังพัฒนาไม่สุดแค่นั้นเอง มันพึ่งเริ่ม (เห็นใน Surface4 ล่ำมากๆ ใส่แว่นอะไรก็ปลดล็อกได้ เร็วด้วย)
พัฒนาสุดแค่ไหน ก็น่าจะได้แค่ความเร็ว ความแม่นยำ อ่ะสิคับ. พัฒนาให้เทพแค่ไหน ก็ต้องยกขึ้นมาส่องหน้าอยู่ดี
มันดี มันเวิร์ค แต่นึกถึงตอนใช้งานสิครับ บนรถ บนรถสาธารณะ ในห้าง ฯลฯ ผมว่ามันเขิลๆ ดูตลกๆ อ่ะ
เทียบกะแสกนลายนิ้วมือแบบนี้ดีกว่าเยอะนะผมว่า แตะจอก็ปลดล็อกเลย ไม่ต้องเอาไปไว้ข้างหลังเครื่องด้วย
ถ้ามันพัฒนาจนแค่เหลือบตาไปมองได้ก็โอเคแล้วครับ เพราะยังไงก็ต้องมองจออยู่แล้ว
ส่วนสแกนนิ้วได้ทุกจุด ผมว่ามันก็สะดวกเหมือนกัน เร็วกว่าสะดวกคนละสถานการณ์มากกว่าครับ
สแกนม่านตา ดียังไง ก็สู้ สแกนนิ้วไม่ได้หรอก
มีข้อจำกัดเยอะ
เช่น ใส่คอนเท็กเลนส์ สีๆ
และที่สำคัญเวลา นอนในห้องมืด ยิบมือถือขึ้นมาสแกนตายังไง
ต้องเปิดไฟหรอ
ทุกคนคงมีประสบการเวลา เช็คมือถือตอนนอนนะ อย่างกะสปอตไลท์
ส่องหน้า ตานี่แบบว่า น้ำตาจะไหล จะมาให้เอามาสแกนตาอีก ก็ดูดูลำบาก
มันเป็นเซ็นเซอร์ครับ สแกนในความมืดได้ ใส่แว่นดำยังสแกนได้เลย ของ Microsoft
สแกนนิ้วรุ่นแรกผมก็เคยใช้ของ Moto Atrix ลากจนนิ้วบวมถึงจะติด ไม่กี่ปีต่อมันมันพัฒนาได้อยางที่เห็น
โห..พึ่งรู้ว่า แสกนตัวมืดได้
หรือใส่แว่นดำแล้วยังสแกนได้
มีรายละเอียดป่าวครับ
อยากรู้ถึงความแม่นยำ ของมันมาก ว่าถ้ามืด
หรือใส่แว่นมันจะแม่นยำขนาดไหน
ดูนาทีที่ 1.08
https://www.youtube.com/watch?v=pQ6Q2BfU8Yw
เอา cpu กินไฟน้อยใช้ได้ 7วันแทนได้ไหมเนี่ย