เมื่อเราพูดถึงการสร้างเครือข่ายโทรศัพท์คนที่เราคิดถึงก็คงจะไม่พ้นเหล่าวิศวกรและทีมงาน ที่ออกไปตะลุยตามพื้นที่ต่างๆ เพื่อขึ้นเสาสัญญาณ แต่การจะสร้างเครือข่ายให้มีคุณภาพ และครอบคลุมผู้ใช้งานได้ดี เครือข่ายจะต้องมีทีมตรวจสอบที่ทำงานควบคู่กัน และด้วยหน้าที่เป็นเรื่องที่ยากที่สองทีมจะเห็นตรงกันไปซะหมด ซึ่งเราได้มีโอกาสเข้าไปพูดคุยกับคนทำงานทั้งสองทีมนี้ และเห็นว่ามีเรื่องน่าสนุกน่าสนใจน่าเอามาเล่าสู่กันฟังครับ

เรื่องที่กำลังจะได้อ่านนี้บอกเอาไว้ก่อนว่านี่เป็นเรื่องที่เราได้เข้าไปคุยกับทาง AIS และได้เปิดโอกาสให้เราพูดคุยกับทีมวิศวกร และทีมงานควบคุมคุณภาพเครือข่ายหรือ Network Quality Management (NQM) และอยากให้เราได้นำเอาประสบการณ์พูดคุยนี้มาเล่าต่อสู่กันฟังกับเพื่อน ๆ ทุกคนนะ ก็ขอเชิญทัศนาอ่านกันสนุกๆ ได้ครับ (หวังว่าจะได้มีโอกาสไปพูดคุยแบบนี้กับทางเครือข่ายอื่นบ้างต่อไป ^^)

ที่ 1 ในที่นี้มีที่มาที่ไป ไม่ใช่แค่จำนวนผู้ใช้งานมากที่สุดกว่า 40 ล้านเลขหมาย และรางวัลเครือข่ายเร็วที่สุดจาก OOKLA 4 ปีซ้อน แต่ยังมีทีมงานผู้อยู่เบื้องหลังที่วางเครือข่ายกันอย่างมุ่งมั่น และท่องเป้าหมายกันเอาไว้ทั้งทีมตลอดเวลา “ต้องเป็นที่หนึ่ง”

 

ทำความรู้จักทีมวิศวกรตั้งเสา ผู้อยู่เบื้องหลังเครือข่ายคุณภาพ

เครือข่ายโทรศัพท์ ไม่ใช่แค่มีทุน ก็ไปซื้ออุปกรณ์มาตั้งเสาใส่ตัวกระจายขึ้นให้เสร็จได้ ปัจจุบัน AIS มีสถานีฐานกว่า 70,000 แห่งทั่วประเทศ การติดตั้งและปรับแต่งเครือข่ายเป็นเรื่องที่ต้องใช้ประสบการณ์และความชำนาญมาดูแลโดยเฉพาะ โดยที่เอไอเอสมีทีมวิศวกรด้านโครงข่ายมือถือและผู้ชำนาญการรวมกว่า 1,000 ชีวิต ที่มาดูแลรับผิดชอบ​ ซึ่งขั้นตอนกว่าจะขึ้นเสาแต่ละทีนั้น จะประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลักๆ คือ

  1. Planning : วางแผนการลงเครือข่าย จะตั้งเสาและตัวส่งสัญญาณที่ไหนอย่างไรบ้าง เพื่อให้ครอบคลุม ทำความเร็วได้ดี ใช้งานได้ลื่นไหล เพื่อตอบโจทย์การใช้งานของลูกค้าเป็นหลัก รวมถึงพัฒนาเครือข่ายใหม่ๆ เข้ามาเสริมในพื้นที่ต่างๆ และยังคุ้มค่ากับการลงทุนของบริษัทมากที่สุด
  2. Implement : การติดตั้งเสาใช้งานตามแผนที่วางเอาไว้ โดยจะต้องเข้าไปเซอร์เวย์สถานที่ จัดเตรียมอุปกรณ์ สิ่งก่อสร้างต่างๆให้พร้อมสำหรับการดำเนินการ ในที่นี้รวมถึงการพูดคุยกับเจ้าของที่ในการเช่าใช้งานสถานที่อีกด้วย
  3. Optimization Network : เมื่อทำการติดตั้งเสร็จเป็นที่เรียบร้อย สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือการปรับแต่ง ปรับปรุงสถานีฐานนั้นๆ ให้สามารถใช้งานได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพมากที่สุดด้วย หากลูกค้ามีปัญหาด้านการใช้งาน ทีมก็จะหาโซลูชัน มาแก้ปัญหาดังกล่าว ซึ่งหลายครั้งเป็นนวัตกรรมที่ทางเอไอเอสคิดค้นเองและตัดเย็บให้แมตช์กับปัญหานั้นๆ เลยอีกด้วย

สำหรับเรื่องที่ว่าเครือข่ายจะมีความเร็วช้าขนาดไหน มีการใช้เทคโนโลยีอะไรบ้างนั้น สามารถไปกดอ่านเรื่องราวที่เคยเขียนเอาไว้ก่อนหน้าได้ที่นี่เลยครับ

เอไอเอส เน็ตเวิร์คดีแค่ไหน ก็อ้างอิงรางวัลจาก OOKLA บริการระดับโลกที่ให้อันดับหนึ่งในไทยมา 4 ปีซ้อน

NQM ทีมจับผิด จิกแทงแทนลูกค้า

เมื่อทีมวิศวกรของเอไอเอส ได้ทำการลงเสาและปรับแต่งค่าต่างๆให้เรียบร้อยดีแล้ว ก็ไม่ใช่ว่าทุกอย่างจบลงตรงนั้น เพราะการจะสร้างเครือข่ายคุณภาพดีได้นั้น การลงเสากระจายสัญญาณเป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้น ยังต้องมีการตรวจสอบ รักษามาตรฐานของสัญญาณ และปรับปรุงแก้ไขปัญหาให้ได้ดีขึ้นเรื่อยๆด้วย ซึ่งแต่ละบริษัทก็อาจจะมีทีมตรวจสอบรักษาคุณภาพกันอยู่  แต่สำหรับเอไอเอสเค้าบอกว่าเค้าให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นพิเศษ โดยมีการตั้งทีมควบคุมคุณภาพเครือข่ายหรือ NQM (Network Quality Management) ทำงานเป็นอิสระจากทีมวิศวกรอย่างชัดเจน อยู่ภายใต้สายงาน Business Development ซึ่งมีงบประมาณและทีมงานสำหรับควบคุมคุณภาพเครือข่ายโดยเฉพาะ โดยจะทำหน้าที่เสมือนเป็นลูกค้า ลงพื้นที่จริงเพื่อตรวจวัดคุณภาพสัญญาณ เช็คปัญหาการใช้งานว่าติดขัดอะไรมั้ย และส่งข้อมูลกลับมาให้ทีมวิศวกรทำการปรับปรุงและพัฒนาเครือค่าย ซึ่งทั้งสองสองทีมจะทำงานประสานกันทุกวัน โดยมีเป้าหมายการทำงานเดียวกัน

มองอย่างผู้ใช้ เข้าใจแบบเจ็บเอง

หลายคนน่าจะเคยสงสัยถึงการทำงานของทีมตรวจสอบคุณภาพ ว่าปกติเค้าทำกันอย่างไร ซึ่งทางเอไอเอสก็แชร์เรื่องนี้แบบละเอียดว่า การตรวจสอบคุณภาพทีมจะลงพื้นที่ไปทดสอบเหมือนกับผู้ใช้คนหนึ่ง และการทดสอบก็มีการเปลี่ยนแปลงตัววัดผลไปตามยุคสมัย เช่น เมื่อ 10 ปีที่แล้ว จะยังเช็คเรื่องการโทรเข้า-ออกเป็นหลัก แต่มาถึงสมัยนี้ก็มีการเปลี่ยนให้วัดจากความเร็วในการโหลดรูป รับส่งข้อความ ในแอปอย่าง LINE, Messenger, Instagram แทน ทีม NQM นี้จะมีทีมงาน อยู่ราว100 คน และมีรถยนต์สำหรับ Drive Test วิ่งเข้าพื้นที่ต่างๆ อีกหลายคัน ทดสอบไปทั่วทุกจังหวัด ทุกอำเภอ ทั่วประเทศ

7425 ตำบล 927 อำเภอ 77 จังหวัด และอีก 670 อาคาร ที่ทีมงาน NQM วิ่งตรวจสอบตลอดเวลา

เล่นใหญ่ทุกครั้งที่ออกตรวจ ละเอียดเกินคนทั่วไปจะทำได้

อย่างที่เราบอกไปข้างต้นว่าการตรวจสอบคุณภาพของเอไอเอส จะใช้ทีมงาน ออกไปเดินสำรวจตามสถานที่ต่างๆ โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีการใช้งานหนาแน่น ไม่ว่าจะเป็นแหล่งท่องเที่ยว อาคาร มหาวิทยาลัย  BTS MRT ท่าเรือ หรือแม้แต่ที่เที่ยวกลางคืน สถานบันเทิงเห่เฮ ทีม NQM ก็เข้าไปตรวจสอบคุณภาพสัญญาณอย่างสนุกสนาน…ไม่สิ อย่างไม่ละเว้น เพื่อทดสอบให้ได้การใช้งานจริง แบบที่ผู้ใช้ได้รับ แต่ความต่างของทีมนี้จะต่างกับผู้ใช้ทั่วไปตรงที่อุปกรณ์มีจำนวนตัวอย่างการใช้งานที่มากกว่า​ ทดสอบแต่ละทีมีการแบกเครื่องไปใช้จำนวนหลายเครื่องพร้อมกัน และใส่ซิมของทุกเครือข่าย โดยสมาร์ทโฟนรุ่นที่ถูกเลือกมาทดสอบจะเน้นเครื่องที่รองรับฟีเจอร์ต่างๆ ครบถ้วน เช่น 3G/4G, VoLTE หรือ VoWiFi และคละรุ่นคละยี่ห้อต่างกันออกไป โดยปีนึงมีการใช้งบซื้ออุปกรณ์เหล่านี้หลายล้านบาท

 

แต่ละปีมีเครื่องทดสอบหลักพันเครื่อง

คิดเป็นจำนวนเงินหลายล้านบาท

 

เล่าเพิ่มเติมเกี่ยวกับการ Walk Test กันสักหน่อย ว่าการทดสอบแบบเดินไปตามที่ต่างๆนี้ ทีมงาน NQM จะมีเครื่องติดไปด้วยราว 30 เครื่อง ขึ้นกับจำนวนคนในทีม เฉลี่ยคนละ 6 เครื่อง บรรจุลงในเป้ เพื่อเดินทดสอบคุณภาพสัญญาณตามสถานที่ต่างๆ และสั่งให้รันทดสอบการใช้งานไปพร้อมๆกัน  ซึ่งอย่างที่ทราบกันว่าการทำงานอย่างต่อเนื่องนี้จะเกิดความร้อนสะสมได้ง่าย ดังนั้นทีมจึงต้องดีไซน์เป้หรือกล่องบรรจุเครื่องใหม่ ให้สามารถระบายความร้อนได้ดี คงประสิทธิภาพของเครื่องให้ใกล้เคียงกีบการใช้งานจริงของผู้ใช้มากที่สุดนั่นเอง

แต่ไม่ใช่เพียงแค่ทีมงานเดินเท้าไปตามสถานที่ต่าง ๆ เท่านั้น แต่ยังมีรถคอยขับไปตามพื้นที่ไม่ว่าจะใกล้ หรือไกลอีกด้วย โดยจะขนมือถือไปทีละหลายสิบเครื่อง พร้อมอุปกรณ์ตรวจวัดอื่นๆ ลักษณะดูแล้วละม้ายคล้ายหนังสายลับเลยทีเดียว

ตรวจสอบคุณภาพสัญญาณ ต้องทดสอบอะไรบ้าง

ในหมู่ผู้ใช้ทั่วไปอย่างเราๆ เวลาทดสอบสัญญาณสิ่งที่มักจะทำกันแบบง่ายๆ ก็คือกดทดสอบความเร็วผ่าน OOKLA Speedtest.net, nPerf, หรืออะไรก็ว่าไป แต่สำหรับทีมควบคุมคุณภาพเครือข่ายนี้เค้าจะมีการทดสอบที่ละเอียดกว่านั้นมาก โดยจะครอบคลุมการใช้งานจริงของผู้ใช้ที่หลากหลายและแตกต่างกันออกไป ซึ่งสิ่งที่จะทดสอบคร่าวๆ ก็จะประมาณนี้

  • โทรเข้า-ออกหากัน ทั้งในเครือข่ายและข้ามเครือข่าย มากกว่า 200,000 ครั้ง / เครือข่าย ทั้ง 3G/4G
  • ส่วนแอปต่างๆ และบริการอื่นๆ จะทดสอบมากกว่า 130,000 ครั้ง / บริการ โดยบริการที่ทำการทดสอบจะปรับเปลี่ยนไปตามแต่ละช่วงที่คนนิยมใช้กัน เช่น
    • Facebook
    • YouTube
    • LINE
    • Instagram
    • Twitter
    • Chrome / Safari

สองทีม สองหัวหน้า ต่าง KPI

เอไอเอสให้ข้อมูลว่าทีมการตรวจสอบควบคุมคุณภาพของเครือข่ายนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไร  ทางเอไอเอสก็ได้ดำเนินการทดสอบควบคุมคุณภาพมาเป็นประจำอยู่แล้ว แต่ความพิเศษที่ถูกใส่เข้าไปในทีม NQM ที่จัดตั้งขึ้นมาเพิ่มนี้ คือ การทำงานเป็นอิสระจากทีมวิศวกรอย่างชัดเจน อยู่ภายใต้สายงาน Business Development ซึ่งหมายความว่าวิธีการคิด วิธีการทำงานต่างๆก็จะคนละเรื่องกับทีมวิศวกรที่วางแผนตั้งเสากันไปเลย

ทีมวิศวกรเล่าให้ฟัง เกี่ยวกับเรื่องการทดสอบของทีม NQM คือ มีการลงรายละเอียดที่เน้นความรู้สึกของผู้ใช้แบบลึกมากกกกกกกก เช่น อยากให้การรับส่งข้อความเร็วขึ้น 0.3s ซึ่งทางทีมวิศวกรมองว่าตัวเลขเพียงแค่นี้ ไม่มีผลต่อความรู้สึกของผู้ใช้ แต่ทีม NQM ก็ยืนยันว่าต้องการให้ปรับแต่งให้ดีขึ้นกว่าเดิม เพื่อที่จะได้เร็วกว่าเครือข่ายอื่น ๆ แม้เพียงเล็กน้อยก็เอา ภายหลังจากการตกลงหาทางออกร่วมกันแล้ว และ ทำให้ทางทีมวิศวกรเครือข่ายก็ต้องยอมให้กับทีม NQM และปรับแต่งตามที่ร้องขอ ซึ่งการปรับแต่งกดเสี้ยววินาทีลงนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย และบีบให้ทางทีมต้องใช้ท่าพิเศษ รวมถึงปรับแต่งฮาร์ดแวร์นอกสเปคที่มีวางขายอยู่ในตลาดกันเลยทีเดียว สุดท้ายก็สามารถทำได้สำเร็จ ด้วยวัฒนธรรมของทีมที่ชอบหาทางแก้ไขปัญหาทุกรูปแบบ จนหลายครั้งสร้างสรรค์นวัตกรรมต่างๆ ขึ้นมาได้ จนเครือข่ายจากหลายประเทศต้องขอมาดูงานกัน และที่สำคัญที่สุดคือแม้ว่าการเรียกร้องของทีม NQM นั้นอาจจะดูเกินความสามารถ และท้าทายข้อจำกัดของการทำงานของทีมวิศวกรไม่น้อย แต่ทั้งคู่ก็สามารถเจรจากันได้ และร่วมกันปรับปรุงคุณภาพเครือข่าย จนเรียกได้ว่าสองทีม สองหัวหน้า ต่าง KPI แต่เป้าหมายเดียวกัน คือ “การรักษาคุณภาพเครือข่ายที่ดีที่สุด เพื่อมอบประสบการณ์ใช้งานที่มีศักยภาพทุกมิติให้กับลูกค้า”

 

รับส่งข้อความ โหลดภาพเร็วขึ้นเสี้ยววินาทีก็ต้องทำ

เพื่อเป็นเครือข่ายที่เร็วที่สุด

 

ทั้งหมดนี้เป็นความรู้สึกประทับใจจากการพูดคุยกับทีมที่เกี่ยวข้องในการสร้างเครือข่ายของเอไอเอส ทัศนคติต่อการทำงานที่เยี่ยมยอด ของทั้งทีมวิศวกรและทีมควบคุมคุณภาพ ที่ทำงานร่วมกันอย่างลงตัว ใส่ใจกับการแก้ปัญหา สร้างโซลูชั่นใหม่ๆ มาแก้ปัญหาได้ตลอด แม้จะยากแค่ไหน จนอยากจะบอกต่อให้ได้ทราบกัน และด้วยตัวเลขจำนวนผู้ใช้งาน จำนวนเสาสัญญาณ ความครอบคลุม จำนวนคลื่นความถี่สัญญาณ และการวัดผลจากสำนักต่างๆ รวมถึง OOKLA ที่เป็นองค์กรระดับโลก ด้านการวัดผลคุณภาพเครือข่าย ต่างก็ชี้ชัดออกมาในทางเดียวกันว่า AIS คือเครือข่ายที่ดีที่สุด ไม่ผิดไปจากที่พวกเค้าย้ำมาอยู่เสมอว่าพวกเค้าคืออันดับ 1 ของไทย แต่ท้ายที่สุดแล้วมันก็ขึ้นกับความรู้สึกของเพื่อน ๆ คนอ่าน และประสบการณ์ใช้งานที่ได้รับ ว่าพึงพอใจเพียงเพียงใด ก็หวังว่าเรื่องเล่าของสองทีมสร้างเครือข่ายก็น่าจะช่วยเพิ่มความมั่นใจ ว่าเอไอเอสจะพัฒนาเครือข่ายให้ดียิ่งๆขึ้นไปอีกอย่างแน่นอนครับ

วันนี้ก็คงขอจบการเล่าเรื่องการทำงานที่สอดประสานกันระหว่าง Engineer vs NQM ไว้แต่เพียงเท่านี้ ถ้ามีโอกาสก็หวังว่าจะได้หาเรื่องราวแบบนี้มาเล่าสู่กันฟังต่อไปครับ สวัสดีครับ 🙂