นับเป็นอีกความเคลื่อนไหวครั้งสำคัญสำหรับกรณี Trade War ระหว่างสหรัฐ ฯ กับจีนที่ล่าสุดทางฝั่งสภาคองเกรสของสหรัฐ ฯ ได้มีมติรับร่างกฎหมายสนับสนุนการแข่งขันทางการค้าที่เน้นมาตรการอัดฉีดเม็ดเงินมหาศาลสำหรับลงทุนในภาคการผลิต Semiconductor ที่ขาดแคลนกันอยู่ทั่วโลกมาอย่างยาวนาน เพื่อให้มั่นใจว่าสหรัฐจะสามารถมี Chipset Supply ภายใต้การควบคุมของตัวเองอย่างมากเพียงพอที่จะกุมความได้เปรียบของโลกเทคโนโลยีเอาไว้ได้ต่อไป

สำหรับร่างกฎหมาย COMPETES Act หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ “China Competition Bill” หรือ “กฎหมายส่งเสริมการแข่งขันทางการค้ากับจีน” ได้ถูกลงมติอีกครั้งผ่านสภาคองเกรสรับร่างเป็นที่เรียบร้อย ได้รับแรงสนับสุนจากทั้งนักการเมืองฝ่ายริพับบลิกันและเดโมแครตเพราะทั้งคู่ต่างให้ความสำคัญกับการส่งเสริมศักยภาพการแข่งขันในด้านเทคโนโลยีของสหรัฐ ฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องถูกนำไปเทียบกับศักยภาพของจีน

COMPETES Act ของพี่ใหญ่สหรัฐทุ่มไม่อั้นหวังงัดพี่จีน ด้าน TSMC – Intel รับอานิสงส์เต็ม ๆ

กฎหมายฉบับนี้ประกอบไปด้วยเม็ดเงินอัดฉีดภาคการลงทุนรวมกว่า 1.7 ล้านล้านบาท (5.2 หมื่นล้านเหรียญ) โดยเบื้องต้นมีการรายงานว่า เม็ดเงินกว่า 1.2 ล้านล้านบาท (3.9 หมื่นล้านเหรียญ) จะถูกนำไปส่งเสริมการลงทุน ตั้งโรงงานและสร้างไลน์ผลิตซัพพลายกลุ่ม Semiconductor ให้อยู่ในสหรัฐ ฯ มากขึ้น แบ่งออกเป็นเงินช่วยลงทุนโดยตรงและมาตรการส่วนลดทางภาษีธุรกิจ โดยคาดหวังผลลัพธ์สำคัญไม่ว่าจะเป็นการสร้างงานเพิ่มให้กับชาวอเมริกันในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตที่ล้ำสมัย (Advanced Manufacturing) การควบคุมปัจจัยและต้นทุนการผลิตซิปเซ็ต (Supply Control) และที่แน่นอนที่สุดคือเพื่อเพิ่มความสามารถให้กับสหรัฐ ฯ เองในการกุมอำนาจห่วงโซ่อุปทานของโลกเทคโนโลยีเอาไว้ให้ได้ (Political-tech Power) เพราะ Semiconductor คือสมองและหัวใจของโลกเทคโนโลยีอย่างปฏิเสธไม่ได้

ทำไมชิปเซ็ตถึงขาดแคลน เกิดจากสาเหตุอะไร กระทบแวดวงไหนบ้าง จะอยู่กับเราไปจนถึงอีกเมื่อไหร่

งานนี้ Tech Giants ในภาคการผลิตชิปเซ็ตอย่าง TSMC และ Intel นั้นถึงกับต้องรีบออกตัวรับลูกพร้อมสนับสนุนมาตรการรัฐครั้งนี้กันยกใหญ่ เพราะน่าจะรับอานิสงส์ไปแบบเต็ม ๆ หลังจากนี้ เพราะทั้ง 2 บริษัทต่างเพิ่งมีโปรเจคยักษ์ใหญ่ทุ่มเงินเพิ่มกำลังการผลิตในสหรัฐ ฯ กันไปแบบพอดิบพอดี โดยทาง TSMC กำลังทุ่มเงินร่วม 4 แสนล้านบาทตั้งโรงงานผลิต Chipset ในมลรัฐ Arizona พร้อมเปิดไลน์ผลิตได้ในช่วงปี 2024 ส่วนทางด้าน Intel นั้นไม่แพ้กันเพิ่งจะประกาศแผนลงทุนตั้งไลน์ผลิตเพิ่มใน Ohio ไปหยก ๆ เช่นกัน กับเม็ดเงินกว่า 6 แสนล้านบาทเลยทีเดียว

อย่างไรก็ตาม มาตรการรัฐครั้งนี้ของพี่ใหญ่อย่างสหรัฐ ฯ อาจไม่ได้เข้ามาช่วยแก้ปัญหาของทั้งโลกสำหรับปัญหาการขาดแคลนของชิปเซ็ตในขณะนี้ได้ในทันทีเพราะดูจากแผนการลงทุนที่มีประกาศกันออกมาแล้วยังต้องใช้เวลาอีกกว่า 2 ปีจึงจะสามารถเพิ่มกำลังการผลิต Chipset ตามแผนการลงทุนเข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานได้จริง ซึ่งกว่าจะถึงเวลานั้นปัฐหาชิปเซ็ตที่ขาดแคลนกันอยู่น่าจะเริ่มคลี่คลายไปแล้วไม่น้อย แต่ COMPETES Act ฉบับนี้น่าจะเป็นนโยบายสำหรับอนาคตระยะยาวเพื่อให้สหรัฐ ฯ ยังคงความสามารถในการคานอำนาจกับมหาอำนาจทางเทคโนโลยีชาติอื่น ๆ (จีน) เอาไว้ให้ได้เสียมากกว่า

 

อ้างอิง: The Verge | Reuters