กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ได้ออกมาตรการติดตามควบคุมผู้ให้บริการ Food Delivery 11 รายในประเทศไทย ทั้ง Lineman, GRAB, Foodpanda, Robinhood, Gojek, Lazada, Shopee, JJmall, ไปรษณีย์ไทย, Ohlala Shopping และ Lalamove ห้ามฉวยโอกาสขึ้นราคาค่าบริการ หลังจากช่วงวิกฤตโควิด-19 มีผู้ใช้บริการเยอะขึ้น และหวังขอให้ช่วยลดค่า GP แก่ร้านอาหารผู้ประกอบการด้วย
โดยก่อนหน้านี้ที่มีข่าวว่าแพลตฟอร์มหรือผู้ให้บริการ Food Delivery ต่าง ๆ จะมีการปรับขึ้นค่า Gross Profit (GP) หรือ ค่าคอมมิชชั่น จากผู้ประกอบร้านอาหาร ซึ่งทางกรมการค้าภายในได้ออกมาพูดคุยหารือกับทุกแพลตฟอร์มดังกล่าวแล้วว่า จะไม่มีนโยบายการขึ้นค่า GP หรือ ค่าบริการการส่งแน่นอน เนื่องจากทุกบริษัทเข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ว่าทุก ๆ ฝ่ายต่างเดือดร้อนกันหมด และทุกแพลตฟอร์มเตรียมพร้อมที่จะออกโปรโมชั่นต่าง ๆ เพื่อหวังช่วยเหลือประชาชนลดค่าครองชีพอีกด้วย
ส่วนค่า GP บางแพลตฟอร์มให้ร้านค้าเลือกได้ว่าจะจ่ายค่า GP หรือไม่ ซึ่งบางแพลตฟอร์มก็ไม่เก็บค่า GP จริง หรือหากจะเก็บ ก็จะเก็บเฉพาะผู้ประกอบการรายใหญ่เท่านั้น รวมถึงทางกรมการค้าภายในยังคงเน้นย้ำให้แพลตฟอร์มต่าง ๆ รักษามาตรฐานสุขอนามัยของพนักงานส่งสินค้า เพื่อลดการแพร่ระบาดและสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน
ทั้งนี้สำหรับสถานการณ์แพร่ระบาดระลอก 3 ที่เกิดขึ้นนั้น ผลประกอบการของแต่ละแพลตฟอร์ม Food Delivery ยอดการสั่งซื้อส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นเพียง 5-10% เท่านั้น หรือบางรายไม่เพิ่มขึ้นเลย อันเนื่องจากประชาชนมีการเตรียมความพร้อมปรับตัวรับสถานการณ์ได้ดีมากขึ้นนั่นเองครับ
ที่มา : efinancethai, กรมการค้าภายใน
GP ของแต่ละเจ้ากี่ % บ้างครับ
นอกจากค่า GP ยังมี Vat 7% ที่เก็บกับร้านด้วย อย่าง Grab จะเป็น 32.1%