จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในตอนนี้ ทำให้หลาย ๆ องค์กรต้องเปลี่ยนรูปแบบการทำงานที่บริษัทเป็นการทำงานจากระยะไกลแทน ซึ่งอาจจำเป็นต้องหันไปพึ่งพาบริการด้านระบบคลาวด์ (Software-as-a-Service: SaaS) อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น Google Workspace และ Microsoft 365 แต่ทราบกันหรือไม่ครับว่า การปรับใช้งานในระยะสั้นแบบนี้ องค์กรต่าง ๆ มักละเลยมาตรการด้านความปลอดภัยของคลาวด์จนทำให้ข้อมูลรั่วไหลและส่งผลเสียหายต่อบริษัท ดังนั้นเราจึงควรป้องกันเอาไว้ก่อนที่จะสายเกินไป

จากการสำรวจโดย Palo Alto Network พบว่า หลังจากแพร่ระบาดของโควิด-19 ในปี 2563 เป็นต้นมา บริการด้านระบบคลาวด์มีการใช้งานเพิ่มขึ้นจากองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลกราว 20% และในขณะเดียวกัน สถิติด้านภัยคุกคามก็เพิ่มขยายตัวสูงถึง 188% ซึ่งมีออกข่าวให้เห็นอยู่บ่อยครั้งในช่วงปีที่ผ่านมา อันที่จริงต้องบอกว่า อาจไม่ใช่น่าเรื่องแปลกใจสักเท่าไหร่ เพราะบริษัทเหล่านี้มักนำข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนไปเก็บไว้บนคลาวด์ จึงตกเป็นเป้าการโจมตีของพวกแฮกเกอร์ไปโดยปริยาย และหากนับเฉพาะอีเมลที่เป็นภัยคุกคามแล้ว ช่วงหลังมีสถิติมากกว่า 16.7 ล้านฉบับ เพิ่มขึ้น 32% จากปี 2562

Trend Micro กล่าวว่า ปัญหานี้ยากที่จะแก้ไขได้ในระยะสั้น และยังเปิดเผยอีกด้วยว่า ในปี 2564 นี้ Microsoft Teams, SharePoint, Office 365 และ Exchange คือแอปบริการบนคลาวด์ที่มีความเสี่ยงจะตกเป็นเหยื่อของแรนซัมแวร์สูง อาจทำให้ต้องสูญเสียเงินจ่ายค่าไถ่ข้อมูลเป็นจำนวนมหาศาล บริษัทจึงควรงวางแผนและปรับใช้กลยุทธ์ด้านความปลอดภัยข้อมูลที่ครอบคลุมและน่าเชื่อถือเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดปัญหาเหล่านั้น หรืออย่างน้อยก็สามารถลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้

นอกจากนี้ ที่อันตรายต่อข้อมูลบนคลาวด์ไม่ได้มีเพียงแค่การโจมตีจากภายนอกเท่านั้นนะครับ เพราะ 95% ของการสูญเสียข้อมูลนั้นเกิดจากความผิดพลาดของพนักงาน ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงจนน่าตกใจ ทั้งนี้อาจเกิดจากการลบข้อมูลโดยเจตนาหรือไม่เจตนา หรือแม้กระทั่งการคอนฟิกระบบที่ผิดพลาดของฝ่ายไอที หากไม่รีบทำการกู้คืนภายใน 25 – 30 วัน (ตามนโยบายการเก็บรักษาข้อมูลที่ถูกลบของผู้ให้บริการระบบคลาวด์) บริษัทจะสูญเสียข้อมูลนั้นไปอย่างถาวร ทางออกของปัญหานี้อาจทำได้ง่าย ๆ คือ การใช้วิธีจัดเก็บข้อมูลลงบนฮาร์ดแวร์แบบดั้งเดิม

แต่จากสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันที่มีการชะลอตัว ส่งผลให้องค์กรขนาดเล็กและขนาดกลางจำนวนมากจำต้องรัดเข็มขัดและลดงบประมาณด้านไอทีลง และเพราะการสำรองข้อมูลนั้นไม่ใช่บริการด้านไอทีที่สามารถแปลงเป็นรายได้ได้โดยตรง รวมถึงทรัพยากรของแผนกไอทีอื่น ๆ เช่นกัน จึงอาจต้องพิจารณาหลักการประเมิน เพื่อเลือกใช้งานโซลูชันการปกป้องข้อมูลบนคลาวด์ที่ตรงกับความต้องการ พร้อมกับการวางแผนด้านงบประมาณด้านไอทีให้ออกมาคุ้มค่าที่สุด ดังนี้

ข้อควรพิจารณาที่ 1 : กลไกการเรียกเก็บเงินสอดคล้องกับแผนงบประมาณสำรองระยะยาวหรือไม่ ?

โซลูชันการสำรองข้อมูลบนคลาวด์หรือที่เรียกง่าย ๆ ว่า SaaS ที่ใช้งานกันทั่วไปโดยส่วนใหญ่นั้น จะใช้ระบบสมัครสมาชิกระยะสั้นตามจำนวนของผู้ใช้งาน ซึ่งมีข้อดีคือ เป็นกลยุทธ์เบื้องต้นที่เริ่มต้นได้รวดเร็วมาก ๆ แต่ในทางตรงกันข้ามนั้นก็มีข้อเสียคือ ค่าใช้จ่ายในการสำรองข้อมูลที่สะสมมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามการเติบโตขององค์กร จนสุดท้ายอาจสร้างความปวดหัวให้กับองค์กรเล็กและขนาดกลางได้

Synology บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลบนเครือข่าย ได้นำเสนอบริการ “Active Backup” เพื่อแก้ปัญหาข้างต้นนี้ ซึ่งจะเป็นแพ็กเกจซอฟต์แวร์สำรองข้อมูลบนคลาวด์สาธารณะที่ทำงานอูย่บนอุปกรณ์จำพวกหน่วยเก็บข้อมูลบนเครือข่าย (network-attached storage: NAS) โดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์หรือค่าธรรมเนียมการสมัครสมาชิกเป็นประจำเพิ่มเติมอีกในภายหลัง ถือเป็นการลงทุนกับฮาร์ดแวร์ที่ดูแล้วคุ้มค่า เพราะตราบใดที่พื้นที่จัดเก็บใน NAS ยังเหลือเพียงพอ องค์กรจะสามารถสำรองข้อมูลบนคลาวด์สาธารณะได้เรื่อย ๆ ช่วยแก้ปัญหางบประมาณด้านไอทีในระยะยาวได้อย่างอยู่หมัด

ข้อควรพิจารณาที่ 2 : ประสิทธิภาพการสำรองข้อมูล และพื้นที่จัดเก็บที่เพิ่มขึ้นมีต้นทุนแอบแฝงหรือไม่ ?

นอกเหนือจากกลไกการเรียกเก็บค่าบริการของโซลูชันการสำรองข้อมูลทั่วไปแล้ว การดำเนินการสำรองข้อมูลและประสิทธิภาพการใช้พื้นที่จัดเก็บของโซลูชันสำรองข้อมูลยังเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อต้นทุนรวมของการเป็นเจ้าของข้อมูลอีกด้วย

สำหรับข้อควรพิจาณาในเรื่องนี้ ทาง Synology กล่าวว่า ด้วยกลไกการจัดเก็บข้อมูลอินสแตนซ์ของ ที่ทำงานควบคู่ไปกับเทคโนโลยีการขจัดข้อมูลซ้ำซ้อนของ Active Backup บน NAS ของบริษัทฯ นั้น ทำให้องค์กรประหยัดค่าใช้จ่ายพื้นที่จัดเก็บข้อมูลได้มากที่สุดถึงเกือบ 70% เลยทีเดียว

ข้อควรพิจารณาที่ 3 : สามารถตอบสนองความต้องการของการขยายกำลังการผลิตในอนาคตได้หรือไม่ ?

ตามที่บอกไปแล้วในข้อควรพิจาณาที่ 1 ว่า ข้อมูลดิจิทัลจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นตามการเติบโตขององค์กร ดังนั้น นอกเหนือจากการรองรับปริมาณข้อมูลปัจจุบันที่เพียงพอแล้ว โซลูชันการสำรองข้อมูลยังต้องพิจารณาถึงอัตราการเติบโตของข้อมูลในอนาคตด้วยนั่นเองครับ

สำหรับเพื่อน ๆ คนไหนที่สนใจสามารถเข้าร่วมงานสัมมนาออนไลน์ Synology SaaS Backup Webinar สามารถเข้าร่วมได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ในวันที่ 18 สิงหาคม 2564 ตั้งแต่เวลา 14.00 – 15.30 น. ภายในงานนี้เพื่อน ๆ จะได้ความรู้เชิงลึกเกี่ยวกับความรู้ด้านการวางแผนและกลยุทธ์การสำรองข้อมูลบนระบบคลาวด์ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับภาคธุรกิจ

  • ความสำคัญของการสำรองข้อมูลธุรกิจบนระบบคลาวด์และความท้าทายที่ต้องเผชิญ
  • กลยุทธ์การปกป้องข้อมูลบนระบบคลาวด์ด้วยโซลูชันสำรองและกู้คืนข้อมูลของ Synology ที่ใช้งานง่าย ไม่จำกัดจำนวนบัญชีที่สำรอง และไม่มีค่าใช้จ่าย License เพิ่มเติม
  • วิธีการปกป้องเวิร์กโหลด Google Workspace และ Microsoft 365 อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ

ลงทะเบียนงานเข้าร่วมงาน SaaS Backup Webinar : sy.to/nwgke (คลิก) | ดูรายละเอียดเพิ่มเติม sy.to/0hptf (คลิก)