แอปธนาคาร หลายแห่ง เริ่มเร่งใช้มาตรากรป้องกัน มิจฉาชีพ หลอก ดูดเงิน โดยอัปเดตระบบใหม่ เป็นระบบป้องกันการแอบดู / แคป /อัดวิดีโอหน้าจอแสดงผลของ โทรศัพท์มือถือ โดยสามารถป้องการทำธุรกรรมทางการเงินของเราได้ปลอดภัยมากขึ้น
QR Code หลอกดูดเงิน อีกหนึ่งเครื่องมือที่แก๊งมิจฉาชีพชอบใช้ นอกจากรูปแบบการคลิกลิงค์ เพื่อหลอกให้โหลดแอปดูดเงิน เพราะสามารถทำได้ทั้งบนออนไลน์และออฟไลน์ แล้วคนสแกนจะไม่ทราบว่าสิ่งที่จะสแกน ปลายทางคือที่ใด บางทีสแกนปุ๊บเงินอาจจะหายได้ทันตา หรืออาจโดนไวรัสแฮกข้อมูลทันที ซึ่งรูปแบบที่มิจฉาชีพใช้ก็มีมากมายหลายแบบ เราจึงได้รวบรวมกลโกงของแก๊งมิจฉาชีพ ว่าจะใช้ QR Code มาในรูปแบบไหนบ้าง เพื่อให้ทุกคนได้ระวังตัวก่อนล่วงหน้า
แอปอันตรายไม่ได้มีแค่มือถือระบบใดระบบหนึ่ง แต่มีความเสี่ยงโดนได้ไม่ว่าจะใช้มือถือ iOS หรือ Android ตามที่เราได้เห็นข่าวผู้เสียหายโดนขโมยข้อมูล ดูดเงินในธนาคาร ส่วนมากก็จะเป็นเพราะภายในมือถือมีมัลแวร์แฝงตัวอยู่ทั้งนั้น ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย เราควรมาเช็คมือถือของตัวเองว่ามีแอปไวรัสอยู่หรือเปล่า จะได้ป้องกันตัวได้ทัน สำหรับคนใช้มือถือไอโฟน iOS
ช่วงนี้บอกเลยว่าเหล่าแฮกเกอร์ + เหล่ามิจฉาชีพ ขยันทำงานกันเป็นพิเศษ เพราะนอกจากจะมีข่าวแก๊งคอลเซนเตอร์แล้ว ข่าวคนโดนดูดเงินจากแอปธนาคารก็มีให้เห็นกันแบบวันเว้นวัน โดยต้นเหตุที่โดนดูดเงินกันจากมือถือหลัก ๆ เลยก็คือไปโหลดแอปมาลงกันมั่ว ๆ จนแฮกเกอร์เจาะเข้าเครื่องได้นั่นเอง (ไม่ใช่เพราะสาย USB นะจ๊ะ…) ล่าสุดทางกระทรวง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอีเอส ก็ได้ออกมาเผยรายชื่อแอปอันตรายกว่า 200 แอป ที่อาจทำให้เราเสี่ยงโดนล้วงข้อมูล...
จากกระแสข่าว สายชาร์จดูดเงิน จนมาถึงคดีพลิก ว่าจริงๆ แล้ว โดนหลอกให้โหลด แอปดูดเงิน แอปพลิเคชันแฝงมัลแวร์ เพื่อขโมยข้อมูล ยิ่งเกิดความตื่นตระหนกกันไปอีก ว่าตอนนี้เราจะโดนไหม หรือเผลอไปโหลดแอปมัลแวร์อะไรมาแล้วบ้าง มาดูกันว่าจริงๆ แล้ว แอปดูดเงิน เป็นยังไง มีแอปอะไรบ้าง และจะป้องกันการขโมยเงินจากมิจฉาชีพยังไง
ช่วงนี้เราคงได้ข่าวมิจฉาชีพที่มากันในหลายรูปแบบจนเราตามไม่ทัน แล้วเผลอตกเป็นเหยื่อโดยที่ไม่รู้ตัว อย่างข่าวล่าสุดเรื่องสายชาร์จปลอม ทีแท้จริงแล้ว มิจฉาชีพหลอกให้ผู้เสียหายดาวน์โหลดแอปดูดเงินลงเครื่องซึ่งภายในตัวแอปแฝงไปด้วยมัลแวร์ที่เป็นอันตรายต่อมือถือ เรียกว่าได้ว่าพอเข้าควบคุมเครื่องเราได้ก็จะทำการดูดเงินไปค่ะ วันนี้เราเลยจะมาแนะนำวิธีการตรวจสอบว่าเครื่องเราถูกติดตั้งแอปอันตรายหรือดูดเงินหรือไม่ บนมือถือ Android เพื่อความปลอดภัยของเรา
หลังจากที่มีข่าวสายชาร์จปลอมดูดเงินระบาดไปทั่วโซเชียลมิเดีย ตอนนี้คดีพลิกแล้วค่ะ เพราะทางธนาคารแห่งประเทศไทยออกมาชี้แจงเองเลยว่า สายชาร์จปลอมไม่ได้ดูดเงินผู้เสียหาย แต่ว่าเกิดจากมิจฉาชีพหลอกลวงให้ติดตั้งแอปพลิเคชันปลอม แล้วภายในแอปมีมัลแวร์แอบแฝง จากนั้นจะควบคุมมือถือของผู้เสียหายเพื่อทำการขโมยข้อมูล และโอนเงินออกไปนั่นเอง
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า