ตำรวจไซเบอร์เตือนภัยร้าย จาก มิจฉาชีพออนไลน์ ด้วยกลโกงรูบแบบใหม่ แฝงตัวเข้ามาใน TikTok หรือ “Scam TikTok” เพื่อหลอกให้ติดตั้งแอป, หลอกขายสินค้า รวมไปถึงหลอกให้คลิกลิงก์ดูดเงินพร้อมไวรัส และอื่น ๆ อีกเพียบ ถ้าไม่อยากตกเป็นเหยื่อต้อง ไม่เชื่อ  ไม่รีบ  ไม่โอน 

ที่ผ่านมาเราคงได้เห็นแล้วว่าแอป TikTok นั้นเติบโตไปอย่างก้าวกระโดด ไม่พอยังเข้ามาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการใช้งานของคนไปด้วย เรียกว่าถ้าใครอยากรู้ว่าตอนนี้มีเทรนด์ฮิตอะไรบ้างแค่เข้ามาไถฟีตหน้าทิคทอคไม่นานก็จะรู้ทันที ที่สำคัญยังเข้าถึงคนทุกช่วงทุกวัยได้ง่าย ด้วยคอนเทนต์ภายในแอปที่มีให้เลือกชมอย่างหลากหลาย จนมิจฉาชีพเริ่มแฝงตัวเข้ามาในรูปแบบ Scamtok หรือ  Scam TikTok ดังนั้นเราจะมาเปิด 7 กลโกงใหม่มิจฉาชีพให้ระวังภัยกันค่ะ

กลโกง Scam TikTok

เพจกองบังคับการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 3 – CCID3 ได้ออกมาโพสเตือนภัยมิจฉาชีพออนไลน์ ในรูปแบบ Scam TikTok

1.แอป TikTok ปลอม

มิจฉาชีพส่วนใหญ่จะสร้างบัญชีปลอมลงบนสื่ออนไลน์ แล้วหลอกให้ติดตั้งแอปด้วยไฟล์ APK เพื่อขโมยข้อมูล และอาจทำให้อุปกรณ์ติดสปายแวร์

2. Romance Scam

เป็นมิจฉาชีพที่สร้างโปรไฟล์ปลอม โดยการการขโมยรูปภาพและวิดีโอของคนอื่นมาใช้ และหลอกเหยื่อเพื่อคุยกันในเชิงชู้สาว พร้อมหลอกให้หลงรัก เชื่อใจและโอนเงินให้ในที่สุด

3. ซื้อผู้ติดตาม

เราจะเห็นว่าในปัจจบันมีคนมากมายที่อยากได้ผู้ติดตามเยอะ ๆ เพื่อหารายได้หรือให้ตัวเป็นที่รู้จักในวงสังคมอย่างกว้างขวาง เพื่อให้คนมาดูคลิปของตัวเองเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนมิจฉาชีพเข้ามาหลอกให้เหยื่อจ่ายเงินซื้อยอดผู้ติดตาม พอมีคนหลงเชื่อยอดกลับไม่เพิ่มขึ้น และเสี่ยงถูกบัญชีถูกแบนอีกด้วย

4. บัญชีธุรกิจปลอม

เป็นบัญชีใหม่ที่สร้างขึ้นเพื่อทำธุรกิจปลอม จะชักชวนเหยื่อให้ลงทุนและซื้อขายสินค้า โดยมีเบื้องหน้าโปลไฟต์แบบดิบดีไม่มีพิษมีภัย และพอนานเข้าจะหลอกให้เหยื่อคลิกลิงก์ไปแบบไม่รู้ตัว

5. หลอกทำภารกิจ

หลอกให้ทำภารกิจกดติดตามและกดหัวใจ แต่ต้องโอนเงินไปก่อนถึงจะทำภารกิจได้

6. บัญชี TikTok Bot

บัญชีส่วนมากที่สร้างขึ้นมักเกี่ยวกับการลงทุน แฝงลิงก์ที่มีไวรัส ถ้าเผลอกดอาจถูกติดตั้งมัลแวร์อันตรายได้

7. Dropshipping ปลอม

อ้างตัวเป็นผู้จัดหาสินค้า สวมรอยเป็นซัพพลายเออร์ดรอปชิป หลอกให้โอนเงินล่วงหน้าก่อนนำสินค้าไปโพสต์ขาย

โดยคำแนะนำจาก ตำรวจไซเบอร์ย้ำ ไม่เชื่อ  ไม่รีบ ไม่โอน เพื่อให้เรารอบคอบก่อนจะตัดสินใจทำอะไรทุกครั้ง รวมไปถึงการเช็คข้อมูลให้ดีว่าอันไหนเป็นของจริงหรอของปลอม และมีความน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน

อ่านข่าวอื่น ๆ เพิ่มเติม

 

ที่มา :กองบังคับการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 3 – CCID3