เผลอแป๊บเดียวปี 2020 ก็ใกล้จบเข้าไปทุกที ๆ แล้วเหลือเวลาอีกเพียงสัปดาห์เดียวเราก็จะได้เริ่มต้นปีใหม่กันเสียที และเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองและหวนคืนความหลังของวงการมือถือ วันนี้ Droidsans จะมารวบรวมให้ดูกันว่าเวลา 1 ทศวรรษที่ผ่านมา วงการสมาร์ทโฟนเปลี่ยนไปมากแค่ไหน แล้วมือถือเมื่อ 10 ก่อนเป็นอย่างไร
จุดเริ่มต้นของวงการสมาร์ทโฟนปี 2010
เรา ๆ ที่ใช้สมาร์ทโฟนกันมาจนชินกันก็น่าจะลืมกันไปว่า 10 ปีที่แล้วสมาร์ทโฟนมันช่างต่างกับปัจจุบัณมาก ๆ ซึ่งเมื่อปี 2010 ก็ถือว่าเป็นยุคที่สมาร์ทโฟนเริ่มจะมีบทบาทในวงการเทคโนโลยีมากขึ้นเรื่อย ๆ กับการเปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ของ Apple iPhone 4 ที่สั่นสะเทือนวงการมือถือไปด้วยสุดยอดสมาร์ทโฟนที่สามารถเล่นอินเทอร์เน็ตใช้งานแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ ได้มากมาย แถมยังเป็น iPhone รุ่นแรก ๆ ที่เราได้เห็นความนิยมในประเทศไทยไม่น้อยเลยทีเดียว
Samsung Galaxy S I900 ตัวแรกสุด
แต่ไม่ได้เพียงเท่านั้นนะ เพราะปี 2010 ก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของมือถือระบบปฏิบัติการหุ่นเขียวที่ทุกคนคุ้นเคยกันดีทุกวันนี้ เริ่มจากมือถือ Galaxy S เครื่องแรกในปี 2010 ที่เป็นมือถือ Android เรือธงรุ่นบุกเบิกของ Samsung แถมทาง Google ก็เริ่มทำมือถือ Pure Android ของตัวเองเป็นตัวแรกอย่าง Nexus One ซึ่งมือถือเหล่านี้ก็เป็นเสมือนผู้เบิกทางสู่ความรุ่งเรืองของมือถือ Android ในตอนนี้เลยครับ
หน้าจอ
ขนาด
สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปมากที่สุดจากฟีเจอร์โฟนไปสู่สมาร์ทโฟนก็น่าจะเป็นเรื่องของหน้าจอแสดงผล ซึ่ง 10 ปี ที่แล้วผู้ใช้งานหลาย ๆ คนก็เพิ่งจะเริ่มต้นปรับตัวเข้าหาการใช้งานมือถือแบบจอสัมผัสเต็มรูปแบบกัน ทำให้หลาย ๆ คนใน 10 ปีที่แล้วคิดว่าหน้าจอเฉลี่ยที่ 3.7 นิ้ว เป็นหน้าจอที่ใหญ่โตมโหฬารมาก ๆ แต่เมื่อมองถัดมาปัจจุบัณที่มือถือ Android ส่วนใหญ่ หรือแม้กระทั่ง iPhone ก็ต่างมีหน้าจอของรุ่นเริ่มต้นเฉลี่ยอยู่ที่ 6 นิ้วขึ้นไปทั้งนั้น
Samsung Galaxy Note ที่ได้ชื่อว่าเป็นลูกผสมระหว่าง Tablet กับมือถือ
เปรียบเทียบให้เห็นภาพกันชัด ๆ ทุกคนน่าจะจำ Galaxy Note รุ่นแรกที่ออกมาในช่วงปี 2011 กันได้แน่นอน ด้วยหน้าจอที่ใหญ่มาก ๆ พร้อมกับ S Pen ที่มาก่อนกาลบอกได้เลยว่าใครถือคือเท่มาก ๆ ซึ่งสมัยนั้นวงการมือถือก็ได้เริ่มตั้งคำนิยามสมาร์ทโฟนที่มีหน้าจอใหญ่แบบ Galaxy Note ว่า Phablet (Phone + Tablet) แต่เดี๋ยวก่อนนะ เพราะจริง ๆ แล้ว Galaxy Note มีขนาดหน้าจออยู่ที่ 5.3 นิ้วเท่านั้น ซึ่งขนาดยังไม่ได้เท่ากับมือถือรุ่นเริ่มต้นของปี 2020 เลยด้วยซ้ำ
Huawei Mate 20 X พร้อมหน้าจอกว่า 7.2 นิ้ว
แถมคำนิยาม Phablet ก็ค่อย ๆ หายไปเรื่อย ๆ เพราะมือถือที่ค่อย ๆ เปิดตัวมาต่างก็เริ่มมีขนาดหน้าจอที่ใหญ่ขึ้น ๆ ในขณะที่ผู้ใช้งานก็เริ่มคุ้นชินกับขนาดแบบนี้กันไปแล้ว ถือว่าเป็นการพัฒนาที่ก้าวกระโดดกันมาก ๆ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา แถมหลาย ๆ แบรนด์ต่างก็เริ่มซอยย่อยรุ่นมือถือตามขนาดหน้าจอให้ผู้ใช้งานได้เลือกใช้กันตามความชอบอีกด้วย ซึ่งตอนนี้มือถือที่หน้าจอใหญ่ที่สุดในตลาด (แบบไม่พับ) ก็น่าจะเป็น Huawei Mate 20 X ด้วยขนาดหน้าจอกว่า 7.2 นิ้วนั่นเอง
ความละเอียด
นอกจากขนาดที่คนให้ความสนใจกันเป็นหลัก ๆ แล้วก็จะมีเรื่องของความละเอียดที่เป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ สำหรับหน้าจอมือถือ ยิ่งหน้าจอความละเอียดเยอะ ความคมชัดก็จะยิ่งสูงขึ้นนั่นเอง ซึ่งสมัยนั้นมือถือส่วนใหญ่ก็จะมีหน้าจอความละเอียดเฉลี่ยอยู่ที่ 800 x 480 (480P) ซึ่งความละเอียดนี้ยังไม่ได้ถึงระดับ HD เลยด้วยซ้ำ แต่สำหรับสมัยนั้นหน้าจอขนาดนี้ ด้วยความละเอียดขนาดนี้ถือว่าว้าวมาก ๆ แล้วครับ แถมในปีนั้น iPhone 4 ก็ได้เปิดตัวเทคโนโลยีหน้าจอความละเอียดสูงของตัวเองพร้อมตั้งชื่อ “Retina Display” ซึ่งเป็นหน้าจอที่มี Pixel ความละเอียดสูงมากกว่าที่ตาจะสามารถมองเห็นได้ซึ่งมีความหนาแน่น Pixel อยู่ที่ 326 ppi เลยทีเดียว
งานเปิดตัว Sony Xperia 1
แต่เมื่อมองถัดมา 10 ปีให้หลัง หน้าจอมือถือได้มีพัฒนาการแบบก้าวกระโดดทั้งในเรื่องของขนาดที่ใหญ่ขึ้น และความละเอียดที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่งความละเอียดหน้าจอสมัยนี้อย่างมือถือตัวตัวประหยัดต่ำสุดที่รับได้เลยจะอยู่ที่ HD (720P) ไม่ต่ำกว่านี้แน่นอน แถมความละเอียดสูงสุดในมือถือเรือธงหลาย ๆ แบรนด์ก็มีอยู่ที่ Quad-HD (1440P) แถมยังมีรุ่นอย่าง Sony Xperia 1 ที่ทำหน้าจอสุดแจ่มความละเอียดไปได้มากสูงสุดถึง 4K (2160P) แล้วอีกด้วย ซึ่งถือว่าพัฒนาการที่เยอะมาก ๆ ภายในระยะเวลาเพียง 10 ปีเท่านั้น
สัดส่วนหน้าจอต่อตัวเครื่อง
Samsung Galaxy S8 ที่เป็นมือถือรุ่นแรกของ Samsung ที่ตัดเอาปุ่ม Home ออกไป
ด้วยความต้องการหน้าจอขนาดใหญ่ขึ้นของสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ ๆ หลายแบรนด์ก็ต่างคิดค้นหาวิธีมากมายเพื่อที่จะเพิ่มพื้นที่สำหรับหน้าจอแสดงผล โดยที่ยังคงขนาด น้ำหนัก และความหนาตัวเครื่องเอาไว้เท่าเดิม ซึ่งมือถือรุ่นใหม่ ๆ อย่าง Galaxy S8 และ S8 Plus ก็ได้ทำการตัดปุ่ม Home ที่เป็นเสมือนปุ่มเดียวที่หลงเหลืออยู่บนหน้าจอสมาร์ทโฟน กลับหายไป และมีตัว Virtual Button มาแทนด้านล่าง ทำให้ตัวเครื่อง Galaxy S8 ให้ความรู้สึกที่ไร้ขอบน่าใช้มาก ๆ
เปรียบให้เห็นภาพกันง่าย ๆ กับมือถืออย่าง Galaxy S ที่เปิดตัว 10 ปีที่แล้วมีค่าสัดส่วนหน้าจอต่อตัวเครื่องอยู่ที่ 57.88% เท่านั้น เมื่อเทียบกับ Galaxy S20 ที่มีสัดส่วนหน้าจอต่อตัวเครื่องอยู่ที่ 90.62% เท่านั้น
รีเฟรชเรท
น่าจะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่ในวงการมือถือกับอัตรารีเฟรชเรทหน้าจอที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก ๆ เมื่อเทียบกับ 10 ปีที่แล้วซึ่งมือถือทั้งหมดในช่วงปีก่อนล้วนแต่มีรีเฟรขเรทอยู่ที่ 60Hz ทั้งสิ้น และผู้ใช้งานทุกคนก็ไม่ได้ตะหงิดอะไรเท่าไหร่ ทำให้มือถือแต่ละเจ้าต้องวัดความลื่นกันที่ UI และความเสถียรของเครื่องกันเป็นหลัก
Razer Phone ที่มาพร้อมกับหน้าจอ refresh rate สูง 120Hz
แต่หลังจากปี 2017 เป็นต้นมาเราก็ได้เห็นแบรนด์งูเขียวชื่อดังอย่าง Razer หัวใสออกมาตีตลาดมือถือเพื่อการเล่นเกมเป็นหลักด้วยหน้าจอรีเฟรชเรทสูงถึง 120Hz ทำให้เป็นมือถือรุ่นแรกที่มาพร้อมกับหน้าจอรีเฟรชเรทสูงกว่าปกติที่ 60Hz หลักจากนั้นแบรนด์มือถือต่าง ๆ ก็เริ่มเห็นข้อดีของหน้าจอรีเฟรชเรทสูง ๆ ที่ช่วยให้หน้า UI ลื่นไหลหน้าใช้ขึ้นมาก ๆ เราจึงได้เห็นมือถือรุ่นใหม่ ๆ ในปี 2020 ที่มาพร้อมกับหน้าจอรีเฟรชเรทสูงกันทั้งนั้นไม่ว่าจะเป็น 90Hz หรือ 120Hz แถมปีนี้เรายังได้เห็นมือถือราคาประหยัดอย่าง Mi 10T Pro ที่มีหน้าจอรีเฟรชเรทสูงถึง 144Hz กันอีกด้วย
Xiaomi Mi 10T Pro ที่มาพร้อมหน้าจอลื่น 144Hz
แต่ก็ไม่ใช้ทุกแบรนด์นะที่จะเริ่มหยิบหน้าจอรีเฟรชเรทสูงมาใช้งาน เพราะอย่างใน iPhone 12 ตัวล่าสุดทุกรุ่นที่ตอนแรกมีการคาดการณ์กันไปต่าง ๆ นา ๆ ว่าจะเอาหน้าจอรีเฟรชเรทสูงมาใช้ในมือถือรุ่นใหม่เหมือนกับที่เคยทำไปใน iPad Pro สุดท้ายแล้วก็ยังคงใช้หน้าจอ 60Hz เหมือนเดิมด้วยเหตุผลเรื่องแบตเตอรี่ แต่ผู้ใช้งาน Apple หลาย ๆ คนก็ยังพอใจในความลื่นไหล และความเสถียรของ iOS กันอยู่จนขายดีกันเป็นเทน้ำเทท่าเหมือนทุก ๆ ปี และจากประสบการณ์ส่วนตัวก็ต้องยอมรับจริง ๆ ว่า 60Hz บน iPhone นั้นมีความลื่นไหลใช้แล้วไม่ได้รู้สึกขัดใจเลย
ลักษณะหน้าจอ
Galaxy Note Edge ที่มาพร้อมจอโค้งด้านข้างสวยงาม
หน้าจอมือถือ 10 ปีที่แล้วต่างก็ใช้แบบเดิม ๆ เป็นแบบหน้าจอแบนเรียบไปกับขอบไม่ได้มีอะไรหวือหวา แต่ในช่วงปีหลัง ๆ มานี้เราได้เห็นมือถือหลาย ๆ แบรนด์ที่ได้นำเอาความยืดหยุ่นของหน้าจอ AMOLED เพื่อมาทำให้ขอบมีความโค้งมน สร้างรูปแบบหน้าจอที่ให้ความรู้สึกไร้ขอบมากขึ้น เริ่มจาก Samsung ที่ได้เริ่มมือถือไลน์ใหม่ในชื่อ Galaxy Edge ที่มาพร้อมกับหน้าจอขอบโค้งที่สามารถแตะขอบข้าง ๆ เป็นฟีเจอร์ลัดได้ จนเมื่อเวลาผ่านไป ซีรีส์ Edge ก็ได้หายไป แล้วจอขอบโค้งก็ได้กลายมาเป็นหนึ่งในฟีเจอร์ที่มักจะติดมาในมือถือเรือธงหลาย ๆ แบรนด์ ไม่ว่าจะเป็น Galaxy S20 Series, Huawei Mate 40, OPPO Find X2 Pro และอื่น ๆ อีกมากมาย
นอกจากหน้าจอโค้งที่กลายเป็นเรื่องปกติกันไปแล้ว แต่ปี 2020 น่าจะเป็นปีทองของมือถือพับได้จริง ๆ เพราะเรา ๆ ต่างก็ได้เห็นหน้าตามือถือพับได้เจ๋ง ๆ มากมายไม่ว่าจะเป็นมือถือพับด้านข้างแบบ Galaxy Z Fold 2 หรือจะเป็นมือถือ Clamshell สุดเท่แบบ Galaxy Z Flip ก็เปิดตัวออกมาให้เราได้เห็นกันว่าสมาร์ทโฟนสมัยนี้ ไม่จำเป็นจะต้องเป็นมือถือหน้าจอสีเหลี่ยมรูปร่างจำเจอีกต่อไป
ดีไซน์
นอกจากสเปคด้านในจะต้องเจ๋งแล้ว เรื่องหน้าตาความหล่อก็สำคัญไม่แพ้กันอีกด้วย ซึ่งสมาร์ทโฟน 10 ปีที่ผ่านมาก็ต้องบอกเลยว่ายิ่งเปิดตัวกันมาก็ยิ่งสวยดูล้ำไปด้วยดีไซน์ และวัสดุใหม่ ๆ เต็มไปหมด
ปัญหากล้องหน้า ที่แก้ไม่หาย
บาก และติ่งกล้องหน้าแบบต่าง ๆ ในสมาร์ทโฟนยุคปัจจุบัณ
สมาร์ทโฟนในปีหลัง ๆ ต่างก็พยายามที่จะสรรหาวิธีต่าง ๆ นา ๆ เพื่อที่จะเอากล้องหน้าออกไปจากหน้าจอมือถือเพื่อที่จะได้มีสัดส่วนหน้าจอต่อตัวเครื่องที่สูงขึ้น ซึ่งวิธีแรกที่เราได้เจอกันก็จะเป็นลักษณะของ Notch (รอยบาก) นั่นเอง ซึ่งเจ้าตัวรอยบากก็เข้ามาช่วยให้รู้สึกเหมือนมีพื้นที่หน้าจอที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ยังมีผู้ใช้งานหลาย ๆ คนที่รู้สึกว่ามันเกะกะลูกหูตาเสียเหลือเกิน
เชื่อว่าหลาย ๆ คนอาจจะคิดว่า iPhone X เป็นคนบุกเบิกดีไซน์รอยบากเป็นแบรนด์แรก ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ถูก และผิดในเวลาเดียวกัน (ขึ้นอยู่กับว่าผู้อ่านจะให้ความหมายรอยบากว่าอย่างไรนะ) เพราะ LG V10 เป็นสมาร์ทโฟนเครื่องแรกที่ใส่หน้าจอที่สองมาบริเวณส่วนบนของตัวเครื่องเพื่อวางกล้องหน้าลักษณะคล้ายรอยบาก ทำให้หน้าจอมีความรู้สึกที่กว้างขึ้นนั่นเอง
LG V10 ที่มาพร้อมกับหน้าจอแยกด้านบนทำหน้าที่คล้ายรอยบาก
หลังจากนั้นแบรนด์มือถือหน้าใหม่อย่าง Essential Phone ก็ได้เปิดตัวมือถือที่มาพร้อมกับสิ่งที่เรียกว่า Notch จริง ๆ อย่าง Essential Phone PH1 ที่มากับดีไซน์หน้าจอพร้อมกล้องหน้าเป็นติ่งเล็ก ๆ แทรกออกมาตรงกลางหน้าจอ ทำให้มีพื้นที่แสดงผลเยอะขึ้นมาก ๆ และช่วงนั้นมือถือเครื่องนี้ก็ถือว่าเป็นที่ฮือฮาเป็นอย่างมากในวงการสมาร์ทโฟน
Essential Phone PH1 วางเทียบกับ Mi Mix 2
หลังจากนั้นเป็นต้นมาเราก็ได้เห็นมือถือหลากหลายแบรนด์ที่เริ่มนำเอาดีไซน์แบบ Notch เข้ามาใช้ แล้วตัดปุ่มโฮมออกไปมากขึ้นเรื่อย ๆ อย่าง Pixel 3 XL ที่มีนอทช์ที่แคบลง ไปจนถึง OPPO R17 ที่มีดีไซน์เป็นนอทช์หยดน้ำตัวแรก
ถัดมาไม่นานก็เริ่มมีแบรนด์อย่าง OPPO และ Vivo ที่เริ่มคิดนอกกรอบเอาส่วนประกอบขยับได้มาช่วยทำเป็นตัวกล้องแบบโมเตอร์ฝังอยู่ในตัวเครื่อง และจะเปิดออกมาก็ต่อเมื่อเปิดแอปกล้องทำให้มือถือเหล่านีเป็นมือถือรุ่นแรก ๆ ที่ไม่มีอะไรมาบดบังหน้าจอเลย แต่ก็ดูเหมือนวิธีนี้จะไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่ยั่งยืนเท่าไหร่เพราะส่วนประกอบที่ขยับได้ก็มักจะสึกหรอไปตามกาลเวลาพึ่งพาไม่ได้ซักเท่าไหร่
รูป Huawei Nova 4 พร้อมกล้องเจาะรูตัวแรก
จน Huawei Nova 4 เปิดตัวออกมาพร้อมกับกล้องหน้าแบบเจาะรูตัวแรกของซึ่งถือว่าเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ดีไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะกล้องหน้าก็กินพื้นที่ไปน้อยแถมส่วนตัวผมก็คิดว่าเป็นดีไซน์ที่เหมาพสมที่สุดแล้ว จนกระทั่งทาง Samsung ก็ได้เอาดีไซน์นี้ไปพัฒนาเพิ่มเป็นหน้าจอแบบ Infinity-O บน Galaxy A8s ที่เรา ๆ น่าจะคุ้นเคยกันดีในตอนนี้นั่นเอง
วัสดุที่ใช้เป็นอลูมีเนียม และฝาหลังแบบกระจกสะท้อนสีต่าง ๆ เพื่อความพรีเมี่ยม
มือถือเมื่อ 10 ที่แล้วส่วนใหญ่ต่างก็ใช้เป็นวัสดุแบบเดียวกันอย่างพลาสติกเป็นหลัก เนื่องจากความทนทาน ราคาถูก และน้ำหนักที่เบาทำให้มือถือ แม้กระทั่งเรือธงสมัยนั้นนิยมใช้พลาสติกเป็นวัสดุหลักเสียส่วนใหญ่ แต่ก็จะมีทางด้านของ iPhone 4 ที่มาแปลกกว่าใครเพื่อนในยุคนั้นด้วยฝาหลังจะจก และบอดี้เป็นอลูมีเนียม ให้ความรู้สึกที่มีราคา และพรีเมี่ยมขึ้นมาก ๆ
HTC One ที่มาพร้อมกับตัวเฟรมเป็นโลหะทั้งเครื่อง
ซึ่งสมาร์ทโฟนตัวเรือธงหลัง ๆ ก็เริ่มมีการใช้ฝาหลังเป็นกระจก และตัวเฟรมเป็นอลูมิเนียมมากขึ้นเริ่มจาก HTC One ที่เริ่มทำมือถือเป็นโลหะหนึ่งชิ้นให้ความรู้สึกที่พรีเมียมสมราคา มาจนถึง Galaxy S6 ที่เริ่มหยิบดีไซน์ฝาหลังเป็นกระจกแบบถอดไม่ได้ และบอดี้อลูมีเนียมมาใช้อีกด้วย
Samsung Galaxy Note 20 ที่มาพร้อมกับฝาหลังแบบ Glasstic
แต่ปี 2020 ก็มีเทรนด์แปลก ๆ ที่ผุดขึ้นมาให้เราเห็นกันอย่างวัสดุที่เรียกว่า Reinforce Polycarbonate (พลาสติกความทนทานสูง) ที่ได้ถูกทำไปใช้ในมือถือเรือธงอย่าง Galaxy Note 20 ตัวใหม่ ซึ่งก็ได้สร้างความงงงวยให้กับผู้ใช้งานว่ามันเหมาะสมไหมกับราคาหลัก 30,000 ต้น ๆ แบบนี้ แต่ส่วนตัวคิดว่าเหมาะสมแล้วถ้าเอาไปใส่มือถือตัวกลางอย่าง Galaxy S20 FE เพราะสัมผัสที่ได้ก็ให้ความรู้สึกที่แข็งแรงระดับหนึ่ง แถมราคาต้นทุนก็ไม่แพงมากอีกด้วย
กล้อง
สมัยก่อนใครจะไปคิดว่ากล้องบนมือถือจะกลายเป็นหนึ่งในฟีเจอร์หลักที่ผู้ใช้งานส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกันมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นจำนวน Mega Pixel ที่มากขึ้น เซ็นเซอร์ที่ใหญ่ขึ้น หรือเทคโนโลยีมากมายที่ใส่เข้ามาทำให้กล้องมือถือเริ่มจะเข้ามาก่อกวนตลาดกล้องมากขึ้นทุกที ๆ
จำนวนกล้องที่มากขึ้น
HTC One M8 ที่มาพร้อมกับ Depth sensor เป็นเครื่องแรก
หลายปีหลัง ๆ ที่ผ่านมาเราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของกล้องมือถือที่เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก (จำนวนมากขึ้น) ด้วยความที่เลนส์ระยะต่าง ๆ ทำเป็นต้องขยับได้เพื่อให้ได้ระยะหลาย ๆ แบบ เลยมีแบรนด์มือถือหัวใส ใสกล้องเข้าไป 2 ตัวกับเลนส์ 2 ชนิดเพื่อให้สามารถเปลี่ยนได้ตามสะดวก เริ่มต้นจาก HTC M8 ที่ใช้กล้อง 2 ตัวโดยให้กล้องรองเก็บรายละเอียดสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติมเพื่อสร้าง Depth of Field เพิ่มเติม ทำให้เกิดภาพหน้าชัดหลังเบลอนั่นเอง
LG G5 ที่มาพร้อมกับกล้อง Ultra-wide เพื่อถ่ายภาพมุมกว้าง
หลังจากนั้นมือถือหลาย ๆ แบรนด์ก็เริ่มทำตามโดยเอากล้องหลาย ๆ ระยะมาใส่เพิ่มเช่น LG G5 ที่ใส่กล้อง Ultra-wide ความละเอียด 8MP มาใส่เพื่อให้ผู้ใช้งานได้สัมผัสเลนส์กล้องที่กว้างสุดลูกหูลูกตากว่าที่เคยเห็นกันมาก่อนมาก
iPhone 7 Plus ที่มากับกล้องเทเลโฟโต้อีกตัว
หลังจากที่ทางค่าย Android เริ่มมีกล้องมากขึ้นเรื่อย ๆ ทาง Apple ก็ไม่ลังเล เริ่มใส่กล้องตัวที่ 2 เข้ามาใน iPhone 7 Plus โดยกล้องตัวที่สองเป็นกล้องเทเลโฟโต้ มีระยะซูมที่ไกลขึ้น แถมไม่เสียคุณภาพรูปอีกด้วยเพราะเป็นการซูมแบบ optical
Huawei Mate 20 และ 20 Pro
หลังจาก Dual Camera กลายเป็นมาตรฐานใหม่ของกล้องบนมือถือในช่วงนั้น ถัดมาในช่วงต้นปี 2018 ทาง Huawei ก็ได้เปิดตัวมือถือเครื่องใหม่อย่าง Huawei P20 และ Mate 20 Pro ที่ได้ยกระดับกล้องบนมือถือขึ้นไปอีกขั้นด้วยกล้องทั้งหมดถึง 3 ตัวด้วยกันซึ่ง Huawei P20 ก็มาพร้อมกับกล้องหลักความละเอียด 40 ล้าน กล้องเทเลโฟโต้ และกล้อง ขาว-ดำ เอาไว้สำหรับการถ่ายรูปกลางคืนที่ดีขึ้น แล้วค่อยมาเปลี่ยนเป็นกล้อง Ultra-wide ใน Huawei Mate 20 Pro
หลังจากนั้นไม่นานทาง Samsung ก็ไม่น้อยหน้า เปิดตัวมือถือ Galaxy A9 พร้อม Quad-camera (กล้องสี่ตัว) เป็นรุ่นแรกซึ่งก็ขนขบวนเลนส์มาครบทุกชนิดตั้งแต่กล้องหลักธรรมดา กล้องเทเลโฟโต้สำหรับซูม กล้อง Ultra-wide เอาไว้ถ่ายมุมกว้าง และกล้อง Depth อีกตัวเอาไว้สำหรับถ่ายหน้าชัดหลังเบลอถือว่าครบครันมาก ๆ เลย
Samsung Galaxy S20 Ultra ที่มาพร้อมกล้อง 4 ตัว
หลังจากผ่านสงครามจำนวนกล้องกันมาซักพัก ทั้งผู้ใช้งาน และก็แบรนด์ต่าง ๆ ก็เริ่มรู้กันแล้วว่าเลนส์ไหนที่ควรมี และเลนส์ไหนที่ควรปล่อยไป ทำให้เราเห็น Set-up กล้องที่มีประมาณ 3 ตัวเสียส่วนใหญ่ หรือในเรือธงพรีเมียมบางตัวก็มี 4 อย่าง Galaxy S20 Ultra ในขณะที่ Pixel 5 ก็ยังขนมาเพียงกล้องหลักความละเอียด 12MP และกล้อง Ultra-wide อีกตัวแต่ก็ยังผู้ใช้งานหลาย ๆ คนที่ชื่นชอบกล้องของ Pixel 5 อยู่
โหมด Portrait จากตัวช่วยของ Hardware แบบต่าง ๆ
การสร้างเอฟเฟค Depth of field เป็นอะไรที่ทำได้ค่อนข้างยากมากในกล้องสมาร์ทโฟน ซึ่ง Hardware สมัย 10 ปีที่แล้วก็ถือว่าค่อนข้างเป็นไปได้ยากพอตัวที่จะทำได้ ด้วยขนาดรูรับแสง และเซนเซอร์ที่มีขนาดเล็ก แต่มือถือในปีหลัง ๆ มานี้เราก็ได้เห็นการใส่เซ็นเซอร์จำพวก Depth เข้ามาเพื่อหาความตื้นลึกหนาบาง แล้วใช้ Software เพื่อสร้างเอฟเฟคหน้าชัดหลังเบลอที่เราได้เห็น ๆ กันนั่นเอง ซึ่งมือถือเครื่องแรกที่มาพร้อมกล้อง Depth ก็จะเป็น HTC M8 ที่เป็นมือถือเครื่องแรกที่มาพร้อมกับกล้อง 2 ตัวช่วยให้เวลาถ่ายรูปแล้วเกิดเอฟเฟคหน้าชัดหลังเบลอมี Depth ที่สมจริงนั่นเอง
หลังจากนั้นแบรนด์มือถือต่าง ๆ ก็เริ่มมีการใส่เซนเซอร์ Depth เข้ามาเรื่อย ๆ เพื่อเข้ามาช่วยในการถ่ายรูปแบบหน้าชัดหลังเบลอ ยกตัวอย่างเด่น ๆ เช่น LiDAR ของ iPhone 12 Pro และ iPad Pro ที่ทำหน้าที่เหมือนเซนเซอร์ Depth เข้ามาช่วยให้ถ่ายภาพหน้าชัดหลังเบลอได้ง่ายขึ้นอีกด้วย
ชิปเซ็ต
ขุมพลังที่อยู่ภายใต้การทำงานของมือถือทุกเครื่องก็จะเป็นอะไรอย่างอื่นไปไม่ได้นอกเสียจากชิปเซ็ตที่เป็นเหมือนสมองของตัวเครื่อง ที่คอยช่วยประผลต่าง ๆ ทั้งในเรื่องของกราฟิก และการทำงานทั่วไป ซึ่ง 10 ปีที่แล้วมือถืออย่าง Nexus One และ HTC Incredible ที่ใช้ชิป Snapdragon รุ่นแรก ๆ ต่างก็มีประสิทธิภาพการทำงานที่ยอดเยี่ยมมากเมื่อเทียบกับมือถือในชั้นเดียวกัน
ทางฝั่งของ Samsung กับ Galaxy S ก็เริ่มต้นมาด้วยชิปเซ็ต Humming Bird ซึ่งก็เป็นชิป ARM ที่ทาง Samsung ผลิตเองก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นชื่อ Exynos รุ่นต่าง ๆ แบบที่เราคุ้นเคยกันทุกวันนี้ มาพร้อมประสิทธิภาพการทำงานที่ลื่นไหลไม่เบาเลยทีเดียวเมื่อเทียบกับยุคนั้น แถม RAM เมื่อ 10 ปีก่อนที่ให้มา 1GB ตอนนี้มือถือเรือธงต่าง ๆ ก็ใส่มาให้สูงสุดถึง 12GB ซึ่งตอนนี้ก็มากกว่าคอมตั้งโต๊ะบางบ้านเสียอีกครับ
จำนวน Core ที่มากขึ้น
พัฒนาการที่เห็นได้ชัดที่สุดเลยคือจำนวน Core ที่มากขึ้นใน Chipset ซึ่งชิปเซ็ตสมัยนั้นล้วนใช้งานเป็นแบบ Single-core ที่ความเร็วราว ๆ 1Ghz ทั้งสิ้น ซึ่งเมื่อเทียบกับการใช้งานทั่วไปสมัยนั้นก็ไม่ได้เหลือบ่ากว่าแรงเท่าไหร่ แต่ด้วยความที่สมาร์ทโฟนเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ชิปเซ็ตก็ต้องถูกพัฒนาตามเพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นของผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการเสพสื่อเช่นการเล่นเกม ไปจนถึงการใช้งานทั่วไป ซึ่งตอนนี้ชิปเซ็ตระดับเรือธงส่วนใหญ่ก็ล้วนผลิตมาสูงสุดถึง 8 Core เลยทีเดียว
ผลิตด้วยสถาปัตยกรรมที่เล็กลง
นอกจากจำนวน Core ที่มากขึ้นแล้ว อีกเรื่องที่ผู้ผลิตชิปต่างพยายามพัฒนาก็คือเรื่องขนาดสถาปัตยกรรมในการผลิตชิปนั่นเอง ซึ่งชิปเซ็ตตัวแรกของ Samsung อย่าง Hummingbird ก็ผลิตบนสถาปัตยกรรมขนาด 45 นาโนเมตร ส่วนของ Snapdragon S1 QSD8250 ที่อยู่ในเครื่อง Nexus One ก็ผลิตในสถาปัตยกรรมขนาด 65 นาโนเมตร ซึ่งเมื่อเทียบกับสมัยนี้แล้วถือว่าต่างกันลิบลับเลย
ถัดมาสมัยนี้ก็มีแบรนด์ชิปเซ็ตให้ได้เลือกใช้มากมายอย่าง Qualcomm, MediaTek, Samsung, Kirin, Apple, Unisoc ที่ต่างก็ผลิตชิปเรือธงที่มีประสิทธิภาพระดับแถวหน้าของวงการด้วยสถาปัตยกรรมที่เล็กสุดอยู่ที่ 5 นาโนเมตรอย่าง A14 Bionic ของ Apple แล้วอีกไม่นานค่ายอื่น ๆ ต่างก็รอปล่อยชิปที่ผลิตด้วยสถาปัตยกรรม 5 นาโนเมตรของตัวเองอย่าง Snapdragon 888 และ Exynos 2100 เช่นเดียวกัน
ระบบปฏิบัติการ
10 ปีที่แล้วก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นความรุ่งเรืองของระบบปฏิบัติการ Android เลยก็ว่าได้ ด้วยมือถือ Android ยอดนิยมในยุคนั้นอย่าง HTC Incredible, Nexus One, Samsung Galaxy S, Moto Droid X ที่ใช้งานระบบปฏิบัติการ Android อย่าง Gingerbread and Froyo ที่ถ้าว่ากันตามตรงแล้วก็ไม่ได้เสถียรซักเท่าไหร่นัก แต่ด้วยความที่ Android เป็น Open-source ทำให้แบรนด์มือถือต่าง ๆ สามารถนำเอาระบบปฏิบัติการไปทำต่อได้อย่าง Touchwiz ของ Samsung และ Sense UI ของ HTC
ถัดมา 10 ปี Android ก็ได้ล่วงเลยมาถึงเวอร์ชั่น 11 แล้วมาพร้อมฟีเจอร์การใช้งานใหม่ ๆ และความเสถียรที่เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากทำให้ Android เป็นระบบปฏิบัติการที่มีคนใช้งานมากที่สุดทั่วโลก ณ ตอนนี้ แถมแบรนด์ต่าง ๆ ก็ล้วนมี UI Android เป็นของตัวเองทั้งสิ้น
ระบบรักษาความปลอดภัย
เรื่องระบบรักษาความปลอดภัยบนมือถือก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญมาก ๆ เพราะทุกวันนี้ทั้งข้อมูลบัญชีธนาคาร และข้อมูลสำคัญต่าง ๆ ก็ล้วนถูกบันทึกเอาไว้ในมือถือทั้งหมด ซึ่ง 10 ปีที่แล้วมือถือก็จะมีการเข้ารหัสแบบปกติเช่น Password เป็นประโยค เป็น Pin ตัวเลข หรือจะเป็นแบบลาก Pattern ที่หลาย ๆ คนนิยมใช้กันเพราะความสะดวกง่ายดาย
แต่มือถือสมัยนี้ป้องกันแค่นั้นคงไม่พอ ทำให้แบรนด์มือถือเริ่มหยิบกุญแจที่ทุกคนมีอย่างลายนิ้วมือมาช่วยล็อคมือถือของทุกคนให้ปลอดภัยยิ่งขึ้น ซึ่งมือถือเครื่องแรกที่เริ่มใช้งานการสแกนลายนิ้วมือก็จะเป็นอย่าง Motorola Atrix ที่มาพร้อมกับระบบสแกนลายนิ้วมือที่อยู่บริเวณด้านบนหลังตัวเครื่อง แต่ก็ดูเหมือนจะไม่เป็นที่นิยมเท่าไหร่นัก หลังจากนั้นก็ค่อย ๆ เงียบหายไป
ระบบสแกนลายนิ้วมือกลับมาเป็นที่ฮือฮากันอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่ Apple ได้เปิดตัว iPhone 5S ที่มาพร้อมกับระบบสแกนลายนิ้วมือที่ปุ่ม Home ช่วยให้ผู้ใช้งานมือถือหลาย ๆ คนเริ่มเห็นความสะดวกสบายของฟีเจอร์นี้กันบ้างแล้ว ทางฝั่งของหุ่นเขียวอย่าง Samsung ก็ไม่น้อยหน้า เอาระบบสแกนลายนิ้วมือมาใส่ใน Galaxy S5 เช่นเดียวกัน ซึ่งกระแสตอบรับก็ถือว่าดีไม่เบาเลย
แต่หลังจากที่ถึงยุคที่ผู้ผลิตมือถือเริ่มเอาปุ่มโฮมด้านหน้าออก หลาย ๆ แบรนด์ก็เริ่มหาตำแหน่งวางระบบสแกนนิ้วมือใหม่ เริ่มจากด้านหลังตัวเครื่อง ขยับมาด้านข้างตรงปุ่ม Power และ Vivo ก็ถือว่าเป็นแบรนด์แรกที่ได้ทำฟีเจอร์สแกนลายนิ้วมือใต้จอได้สำเร็จอย่างใน Vivo X20 Plus UD แต่ทาง Apple ก็ได้ทิ้งฟีเจอร์ สแกนลายนิ้วมือไปหา Face ID อย่างถาวรไปเลย
แบตเตอรี่
ความจุแบตเตอรี่ที่เพิ่มขึ้น
เรื่องแบตเตอรี่ก็ถือว่าเป็นส่วนประกอบสำคัญของสมาร์ทโฟน เพราะทุก ๆ ปีที่สมาร์ทโฟนเริ่มแรงขึ้น แบตเตอรี่ก็ต้องมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นตามเพื่อที่จะสามารถใช้งานได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการในชีวิตประจำวัน ซึ่งมือถือสมัยก่อนก็จะมาพร้อมแบตเตอรี่ขนาดเฉลี่ยอยู่ที่ 1500mAh ซึ่งก็ถือว่าใช้งานได้ปกติกับมือถือที่ชิปเซ็ตยังไม่ได้แรงเหมือนตอนนี้ แถมแบตเตอรี่ในสมาร์ทโฟนส่วนใหญ่สามารถถอดเปลี่ยนได้อีกด้วย ในขณะที่มือถือ Android สมัยนี้มีความจุเฉลี่ยอยู่ที่ราว ๆ 4000mAh เลยทีเดียว
วัสดุแบบใหม่ Charge Cycle มากขึ้น
นอกจากความจุแบตเตอรี่ที่สูงขึ้นมาก ๆ แล้ว ตัวแบตเตอรี่ก็ได้มีการเปลี่ยนวัสดุเคมีด้านในจากส่วนใหญ่ที่เป็น Li-Ion ซึ่งปีหลัง ๆ มาก็ได้มีการเปลี่ยนแบตเตอรี่เป็น Li-Po ซึ่งมีจำนวนชาร์จไฟซ้ำที่มากขึ้นทำให้แบตเตอรี่เสื่อมช้าลงนั่นเอง
ระบบ Fast-Charge เอาใจคนเร่งรีบ
10 ปีที่แล้วมือถือส่วนใหญ่ต่างก็ทาพร้อมกับ Adapter ชาร์จ ที่มีกำลังไฟอยู่ที่ 5W-10W เสียเป็นส่วนใหญ่ จนหลาย ๆ แบรนด์เริ่มเลงเห็นว่านอกจากแบตเตอรี่จะต้องมีความจุเยอะ ความไวในการชาร์จก็เป็นส่วนประกอบสำคัญต่อการใช้งานอีกด้วย ทำให้เกิดเป็นฟีเจอร์ที่เรียกว่า Quick Charge ซึ่งสามารถชาร์จไฟได้สูงกว่า 10W เป็นต้นไป
ถัดมา 10 ปีให้หลัง มือถือหลาย ๆ แบรนด์ก็เริ่มมีการเปิดตัวฟีเจอร์ชาร์จไวของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น Dash Charge ของ OnePlus, OPPO Super VOOC Super Dart Charge ของ Realme และอื่น ๆ อีกมากมายซึ่งสูงสุดตอนนี้มีไปไกลได้มากถึง 12oW เลยทีเดียว
การเติบโตของตลาด Android
ขอบคุณรูปภาพจาก – MyBroadBand
นอกจากตัวมือถือที่มีการพัฒนาเรื่อย ๆ แล้ว การเติบโตของตลาด Android ก็มีการพุ่งสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมาอีกด้วย ซึ่งการเติบโตส่วนใหญ่มาจากที่ตลาด Android นั้นได้มีการแบ่งมือถือหลากหลายรุ่นทั้งเรือธง และรุ่นประหยัดทำให้มือถือ Android เป็นสินค้าที่เข้าถึงได้ง่าย ช่วยให้ Android ครองตลาดอย่างที่เห็นนั่นเองครับ
สรุป
ถือว่า 10 ปีที่ผ่านมามือถือมีพัฒนาการแบบก้าวกระโดดในทุกด้าน ๆ ทำให้สมาร์ทโฟนกลายเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวันที่ทุกคนขาดไม่ได้ ในฐานะคนที่เคยได้สัมผัสมือถือเมื่อ 10 ปีที่แล้วมาเทียบกับปีนี้ก็ต้องบอกได้เลยว่าอุตสาหกรรมมือถือมาไกลมาก ๆ และด้วยการแข่งขันที่สูงขนาดนี้ ผมก็เชื่อว่าเราจะได้เห็นการเติบโตที่รวดเร็วแบบนี้ไปอีกในหลาย ๆ ปีข้างหน้าแน่นอน
Snapdragon S1 นี่ตำนานจริงๆ ตอนเปลี่ยนจาก S4 เป็น 800 นั่นถือว่าก้าวกระโดดมาก ๆ ยังกะจำได้ว่าตอนนั้น Exynos เหมือนจะแรงกว่า Snapdragon เพราะใช้ Xperia TX (S4 Plus) แล้วเล่นโน้ต 2 ของเพื่อนแล้วดูลื่นกว่าเยอะ ตอนนี้ไม่ใช้แอนดรอยด์แล้ว (ใช้ตั้งแต่ 1.6 พอละจ้า) แต่ก็ตามอ่าน Droidsans อยู่เพราะตามมานานจนชิน เข้าเวปทุกวัน 5555
.
สวัสดีปีใหม่ค้าบ
มือถือหน้าจอใหญ่สุดแบบไม่พับ ไม่ใช่ Huawei mate 20x ที่ 7.2 นิ้ว เหรอครับ เห็นลงเป็น Galaxy Note 20 Ultra ด้วยขนาดหน้าจอกว่า 6.9 นิ้ว
สิ่งที่อยากจะขอให้ Samsung นำกลับมาคือ Iris scan มันมีจำเป็นมากในช่วงเวลาที่เราใส่แมสตลอดเวลาแบบนี้
ในแง่การใช้งานส่วนตัวยังใช้ Oppo find7 ที่เก่าแม้จะไม่ถึง10ปีก่อนอยู่(ขอบคุณซัมซุงที่หักหลังกันมา3ปีเลยไม่ได้เปลี่ยนมือถือซะที) ไม่มีรู้สึกว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลงเลยนอกจากราคาที่ขึ้นเกิน2เท่าหากซื้อรุนเทียบเคียงในช่วงเวลานั้นๆ