หลังจากที่แพลตฟอร์มบริการออนไลน์ต่างๆ จากต่างประเทศเริ่มเข้ามาทำตลาดในบ้านเราจนมีผู้ใช้งานเพิ่มมากขึ้น และมีมูลค่ามหาศาล ทำให้ทางที่ประชุม ครม. มีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากแพลตฟอร์มดิจิทัลตัวกลางที่ให้บริการทางจากต่างประเทศ (e-Service) เช่น ดาวน์โหลดหนัง เพลง เกม จองโรงแรม ซื้อสินค้าหรือให้บริการ โดยคาดว่าจะเก็บเงินได้เพิ่มปีละ 3,000 ล้านบาท
น.ส.รัชดา ธนาดิเรก หรือรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่าง พ.ร.บ. นี้ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ เนื่องจากปัจจุบันคนไทยมีการใช้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศมากขึ้น จากการใช้งานผ่านแพลตฟอร์มที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลาง เช่น เว็บไซต์ แอปพลิเคชัน ไม่ว่าจะเป็นการดาวน์โหลดหนัง เพลง เกม การจองโรงแรม ส่งผลให้ผู้ประกอบการในต่างประเทศมีรายได้ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย แต่กรมสรรพากรไม่สามารถจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มได้
ดังนั้นเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมระหว่างผู้ประกอบการในไทยและต่างประเทศ จึงจำเป็นต้องมีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มให้เหมาะสมกับรูปแบบการประกอบธุรกิจ โดยมีกำหนดกฎเกณฑ์และการจำกัดความใหม่ หลักๆ ที่เพิ่มมามีดังนี้
- นิยามคำว่า “สินค้า” ใหม่ จะหมายถึงทรัพย์สินที่มีรูปร่างและไม่มีรูปร่างที่อาจมีราคาและถือเอาได้ ไม่ว่าจะมีไว้เพื่อขาย เพื่อใช้ หรือเพื่อการใดๆ และให้หมายรวมถึงสิ่งของทุกชนิดที่นำเข้า แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงทรัพย์สินที่ไม่มีรูปร่างที่ส่งมอบโดยผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์อื่นใด
- “บริการอิเล็กทรอนิกส์” หมายถึง บริการที่ส่งมอบโดยผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือเครือข่ายทางอิเล็กทรอนิกส์อื่นใด
- “อิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์ม” หมายถึง ตลาด ช่องทาง หรือกระบวนการอื่นใดที่ผู้ให้บริการหลายรายใช้ในการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์แก่ผู้รับบริการ
- ผู้ประกอบการต่างประเทศที่มีรายได้จากการให้บริการดังกล่าวเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และให้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ห้ามไม่ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศออกใบกำกับภาษี
(เนื้อหา พ.ร.บ. ฉบับเต็ม : http://www.rd.go.th/publish/fileadmin/download/Vatforeign_140163.pdf)
ประเทศไทยไม่ใช่ประเทศแรกที่เก็บภาษีแบบนี้
สำหรับ พ.ร.บ. ฉบับนี้ ล่าสุดได้ผ่านการตรวจพิจารณาจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา(สคก.) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขั้นต่อไปคือส่งร่างให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณา และประกาศในราชกิจจานุเบกษาในลำดับถัดไป รวมถึงกรมสรรพากรเตรียมจะจัดทำคู่มือการใช้กฎหมายฉบับนี้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่ออธิบายให้แก่ผู้ประกอบอีกด้วย โดยประเทศไทยเองก็ไม่ใช่ประเทศแรกที่มีกฎหมายเก็บภาษีในลักษณะนี้ ซึ่งปัจจุบันก็มีประเทศออสเตรเลีย เกาหลีใต้ และอื่นๆ ที่ก็ใช้กฎหมายลักษณะนี้ ที่ประสบผลสำเร็จมาแล้ว
ส่วนตัวเห็นแบบนี้แล้วก็พอเข้าใจได้นะที่รัฐบาลต้องเก็บภาษีเพิ่ม เพื่อความเท่าเทียมและเม็ดเงินตรงนี้ก็มีมูลค่าที่สูงอยู่ ซึ่งหลายๆ ประเทศก็มีการเก็บภาษีตรงนี้เหมือนกัน และหากเข้ากระบวนการเก็บภาษีจริงๆ ราคาค่าบริการของแพลตฟอร์มดิจิทัลต่างๆ จะเพิ่มขึ้นหรือไม่ อย่างไร ยังไงก็ต้องติดตามกันต่อไปครับ
Facebook, Google และบริษัทเทคยักษ์ใหญ่ไม่เสียภาษี? ทำไมทำได้? ประเทศต่างๆยอม?
สงสัยต้องหัก ณ ที่จ่าย ตั้งแต่ platform ชำระเงิน (หรือไม่ก็ผู้ให้บริการบัตรเครดิตในไทย) ไม่งั้นไม่รู้จะเพิ่ม VAT ได้ยังไง ถ้าเว็บต่างประเทศต้นทางไม่เก็บ VAT เพิ่ม และไม่ส่ง VAT ให้ไทย
อันไหนดีก็ต้องสนับสนุนครับ ไม่ใช่ค้านหมด
ผมเป็นคนนึงที่อยู่ในวงอีคอมเมิร์ซ ก็ยังรู้สึกเห็นด้วยกับมาตรการนี้
และถ้าจะให้ดีกว่านั้น ควรทำกลไกภาษีให้เป็นธรรมต่อผู้ค้าออฟไลน์ ที่มีหน้าร้านด้วย
เพราะธุรกิจแบบมีหน้าร้านนั้นสร้างงานมากกว่า ช่วยสังคมมากกว่า มีรายจ่ายมากกว่า
แต่กลับต่อสู้ได้เสียเปรียบกว่า
ในรูป ธงมาเลย์ กับ อินโด สลับกัน หน่วยงานราชการไทยทำงานได้…..จริงๆ
จริง ๆ ควรเก็บภาษีของพวกนี้ก็ถูกต้องแล้ว แต่ควรจะตกลงกับที่บริษัทที่ให้บริการ ไม่ใช่เดี๋ยวพอเก็บภาษีปุ๊ปก็ผลักภาระมาให้กับผู้ใช้ สมาชิกทุกอย่างแพงขึ้น แบบนี้ก็ไม่ OK นะ
Vat เป็นภาษีที่เก็บผู้ใช้อยู่แล้วนะครับจะเรียกผลักภาระมาให้ผู้ใช้ก็ไม่ถูก
ภาษีมา ราคาก็ขึ้น เป็นของธรรมดา ปัญหาคือเงินที่จัดเก็บอยากให้มีการใช้สอยอย่างเหมาะสม ไม่ใช่ทำแบบเดิม ๆ
ถูกคับ ราคาขึ้นไม่แปลก และรัฐได้เงินแน่นอน แต่รัฐใช้เงินยังไงมากกว่า ที่ต้องดู
เปลี่ยนรัฐบาลชุดนี้ก่อนได้ไหมครับ แล้วค่อยเก็บภาษี e-service
ผมไม่พอใจหลายๆอย่างที่รัฐบาลทำ ความไม่เป็นธรรมกับประชาชนหลายๆเรื่อง อย่าง คดีรุกที่ป่าแล้วไม่ติดคุก ฯลฯ
ราคา สินค้า หรือ service ก็แค่ขึ้นอีก 7% ต่างชาติได้เงินเท่าเดิม คนจ่ายคือคนใช้อยู่ดี คนทั่วไปรับกรรมต่อไป
จะเก็บก็ไม่ว่าอะไรนะ แต่เอาเงินไปทำอะไรต่อนี่สิ… แล้วไว้ใจได้มากเลยนะ รบ.นี้